ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม

รัฐชาตินับเป็นส่วนหนึ่งของความทันสมัยหรือความเป็นสมัยใหม่ และด้วยฐานะนี้รัฐจึงมีบทบาทอย่างสูงในการดัดแปลงสังคมให้ทันสมัยตามสายตาของตนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของประเทศไทย การที่รัฐสมัยใหม่ก่อรูปขึ้นก่อนชาติสมัยใหม่ บทบาทในเรื่องดังกล่าวจึงเข้มข้นเป็นพิเศษจากรัฐโบราณหรือรัฐจารีตที่เคยมีบทบาทจำกัด และไทยกลายเป็นรัฐที่ลงทุนและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจออกแบบโครงสร้างทางการศึกษาและชี้นำกระทั่งบังคับให้ประชาชนดัดแปลงตนเองในด้านวัฒนธรรม
 
ประเภทหนังสือ : วัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :    เสกสรร  ประเสริฐกุล. “ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม.” กรุงเทพฯ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. 2551.