ทุนพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน โครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงาน ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส

โครงการพัฒนาระบบทดลองการพัฒนาทักษะแรงงาน
ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส
 
เป็นอีกหนึ่งโครงการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาคนในการขับเคลื่อนประเทศ และสร้างความสามารถในการแข่งขัน ตามเจตนารมย์ของแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (2560-2579) และนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยนวัตกรรมและการพัฒนาประเทศในระยะ 20 ปีต่อจากนี้

 

โครงการนี้มีเป้าหมายพัฒนาทักษะแรงงานขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสให้ เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่และแรงงานฝีมือโดยใช้ชุมชนเป็นฐานนำร่องใน 50 พื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนความยากจน การว่างงานสูง และมีดัชนีความก้าวหน้าของคนต่ำ โดยจะมีการวิเคราะห์ศักยภาพและจัดทำแผนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดรูปแบบการพัฒนาทักษะอาชีพแบบครบวงจร โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนากำลังแรงงาน ให้สามารถยกระดับฝีมือและทักษะ มีแผนประกอบอาชีพจนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนคาดว่าในปีแรกจะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายประมาณ 5,000-10,000 คน
 
วัตถุประสงค์
 
  1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือกลุ่มประชากรวัยแรงงานซึ่งเป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษาหรือพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตามความถนัดและพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตได้
  2. เพื่อพัฒนาระบบทดลองที่เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนาการประกอบอาชีพโดยใช้ชุมชน ท้องถิ่น หรือพื้นที่การเรียนรู้เป็นฐานของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อค้นหานวัตกรรมชุมชน และถอดความรู้จากการปฏิบัติ และจัดทำเป็นคู่มือหรือแนวทางของการขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นต่อไป
เป้าหมายของโครงการ
กสศ. เปิดรับข้อเสนอโครงการ (Proposal) จาก หน่วยงาน สถาบันการศึกษา ทั้งรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม โดย กสศ. จะคัดเลือกโครงการที่มีศักยภาพสูงสุดเข้าร่วมโครงการ และทำสัญญาสนับสนุนกับหน่วยพัฒนาอาชีพ โดยหน่วยพัฒนาอาชีพจะต้องดำเนินงานตามโครงการเพื่อให้ผู้รับทุนได้รับการพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพที่มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยมีกรอบแนวคิดการดำเนินงาน ดังนี้
 
  1. การใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based) ยกระดับการประกอบอาชีพ เนื่องจากชุมชนเป็นแหล่งการเรียนรู้หรือแหล่งการประกอบอาชีพที่สำคัญสุด
      1. ชุมชนชนบท เน้นพัฒนาให้เกิดกระบวนการเสริมศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาอาชีพ เพื่อกำหนดแผนธุรกิจและแผนกำลังคนที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
      2.  ชุมชนเขตเมือง โครงการจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการที่มีความต้องการแรงงานฝีมือสูงขึ้น
  2. การพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ/แรงงานฝีมือในชุมชน มุ่งเป้าตรงตามความต้องการของชุมชน หรือตลาดแรงงานท้องถิ่นร่วมไปกับการสร้างพื้นฐานทักษะอาชีพ 3 ด้าน
    1. ทักษะเฉพาะอาชีพโดยปฏิบัติงานจริงในชุมชนหรือสถานประกอบการ
    2. ทักษะการบริหารจัดการสำหรับศตวรรษที่ 21 (เช่น การฝึกวิเคราะห์ การใช้ IT และเทคโนโลยี การติดต่อประสานงาน การทำงานเป็นหมู่คณะ)
    3. ทักษะชีวิตด้านเศรษฐศาสตร์ครัวเรือน (เช่น บัญชีครัวเรือน การจัดการรายรับรายจ่าย) เพื่อนำไปสู่การมีนวัตกรรมชุมชนเพื่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ด
  3. การเสริมสร้างสมรรถนะแก่ชุมชนและภาคเอกชน ในการส่งเสริมบทบาทและเชื่อมโยงให้เกิดการ    บูรณาการร่วมกันในแต่ละหน่วยงาน เพื่อเป็นเครือข่ายจับคู่การพัฒนาอาชีพในการยกระดับศักยภาพ
  4. การวิจัยปฏิบัติการ เพื่อถอดความรู้และประเมินผลสำเร็จการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงมีการสรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง