ทฤษฎีจุดยืนสตรีนิยม: ข้อถกเถียง เชิงญาณวิทยาในการสร้างความรู้ที่มาจาก ประสบการณ์ผู้หญิง

ทฤษฎีจุดยืนสตรีนิยม: ข้อถกเถียง เชิงญาณวิทยาในการสร้างความรู้ที่มาจาก ประสบการณ์ผู้หญิง
 
บทคัดย่อ 
บทความนี้มุ่งนำ เสนอข้อถกเถียงในเชิงญาณวิทยาสตรีนิยม(Feminist Epistemology) ที่ให้ความสำคัญกับการนำ “ชีวิตและประสบการณ์ผู้หญิง” มาสร้างเป็นความรู้ซึ่งในกระบวนการสร้างความรู้นั้น เป็นทั้งกระบวนการสร้างและวิพากษ์เปิดโปงการกดทับความรู้กระแสหลักในแบบ ‘ผู้ชาย’ ต่อความรู้แบบ ‘ผู้หญิง’ ไปพร้อมๆ กัน การถกเถียงในเชิงญาณวิทยาเป็นการเปิดพื้นที่ให้เกิดการวิพากษ์กระบวนการสร้างความรู้กระแสหลัก และความพยายามที่จะสร้างความรู้ในแนวสตรีนิยมขึ้นมา นั่นคือ “ทฤษฎีจุดยืนสตรีนิยม” ซึ่งได้พัฒนามาจากการหยิบยืมแนวคิดทฤษฎีของมาร์กซิสต์ในความสัมพันธ์ระหว่างนายกับทาสมาใช้ ที่มองว่าตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมมีผลต่อการสร้างความรู้ที่แตกต่างกัน และนำ ไปสู่การยืนยันถึง “ความเป็นเพศ” มีส่วนที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกระบวนการสร้างความรู้การยืนยัน “ความเป็นเพศ” ในการสร้างความรู้สร้างจุดแข็งให้กับทฤษฎีจุดยืนสตรีนิยม แต่ขณะเดียวกันก็ถูกวิพากษ์จากแนวคิดหลังสมัยใหม่ว่าได้สร้างขั้วตรงข้ามให้เกิดขึ้นในกระบวนการสร้างความรู้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้สตรีนิยมได้หันมาหาจุดกึ่งกลางที่จะทำ ให้สตรีนิยมไม่ละทิ้งจุดยืนทางการเมืองของตัวเองและความถูกต้องชอบธรรมทางทฤษฎี โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในฐานะที่เป็นตำแหน่แห่ที่เริ่มแรก ที่จะนำ ไปสู่การวิพากษ์เปิดโปงกระบวนการสร้างความรู้กระแสหลักมากกว่าที่จะมองประสบการณ์อย่างหยุดนิ่งและแข็งทื่อตายตัว
 
ผู้เขียน: ทวีลักษณ์ พลราชม