บทความวิพากษ์กระบวนทัศน์ในการสร้างความรู้ผู้หญิงในสังคมไทย

บทความวิพากษ์กระบวนทัศน์ในการสร้างความรู้ผู้หญิงในสังคมไทย 

 

บทความนี้ปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์ของผู้เขียน ชื่อ งานเขียนผู้หญิงโลกที่สามกับการตั้งคำถามญาณวิทยาสตรีนิยม 

กรอบแนวคิด “การพัฒนาสตรี” ถูกนำเข้ามาผนวกเป็นแนวคิดหลักในการประกาศปีทศวรรษสตรีสากล (พ.ศ. 2518-2528) ชองสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2518 ภายใต้แนวคิด “ความเสมอภาค การพัฒนาและสันติสุข” (Equality Development Peace) ซึ่งการประกาศทศวรรษสตรีสากบนี้ถือเป็นกลยุทธ์ในระดับสากลเพื่อเป็นแรงกดดันให้รัฐบาลแต่ละประเทศกำหนดนโยบายยกสถานภาพและบทบาทผู้หญิงให้ดีขึ้น (Amara Pongsapich 1998: 46) โดยการ ‘ดึง’ (intergrate) ผู้หญิงเข้าร่วมในกระบวนการพัฒนา ซึ่งถูกนำไปปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วผ่านการช่วยเหลือจากแหล่งทุนและผู้เชี่ยวชาญที่มาจากประเทศตะวันตกหรือในประเทศโลกที่สามที่ได้รับการศึกษาแบบสมัยใหม่ในเรื่องการพัฒนาผู้หญิง

 
ผู้เขียน: ทวีลักษณ์ พลราชม