องค์ความรู้ด้านผู้หญิงภาคใต้

ชื่อเรื่อง
การใช้สิ่งจูงใจเพื่อการควบคุมภาวะเจริญพันธ์ภาคใต้ของประเทศไทย
บทคัดย่อ
ผู้วิจัยมุ่งศึกษาทัศนคติของประชาชนในภาคใต้ที่มีต่อสิ่งจูงใจ และการลงโทษหรือตัดสิทธิชนิดต่างๆ ตลอดจนมาตรการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างจำนวน 640 ครัวเรือน ใน  4 จังหวัดภาคใต้ (สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา โดยวิธีการสุ่มอย่างจงใจ และวิธีการจับฉลากอย่างง่าย
 
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า การโน้มน้าวให้ผู้ชายหรือผู้หญิงคุมกำเนิดนั้น ควรมีการ “ให้ประกาศเกียรติคุณ” (ซึ่งผู้มีใบประกาศเกียรติคุณนั้นมีสิทธิพิเศษหลายอย่าง) มาตรการที่จะลงโทษหรือตัดสิทธิเพื่อให้มีการคุมกำเนิดคือ “หมู่บ้านใดที่บุรุษหรือที่สตรีแต่งงานแล้ว คุมกำเนิดโดยวิธีการสมัยใหม่ไม่ถึงร้อยละ 50 หมู่บ้านนั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษจากรัฐบาลเพื่อนำไฟฟ้า น้ำประปาและถนนเข้าหมู่บ้าน” ผู้ชายมีความรู้สึกต่อต้านการทำหมันชายในสัดส่วนสูงสุด ส่วนผู้หญิงมีความรู้สึกต่อต้านการใส่ห่วงอนามัยในสัดส่วนสูงสุด เป็นที่น่าสังเกตว่าวิธีการคุมกำเนิดสมัยใหม่ที่ได้รับการต่อต้านจากสตรีในสัดส่วนต่ำสุดคือ การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด (บุษบง ชัยเจริญวัฒนา, 2531, หน้า 33)
ผู้เขียน
สถิต  นิยมญาติ
ปี
2529
ด้าน
ด้านประชากรศึกษา
  • ภาวะเจริญพันธ์
ประเภท
งานวิจัย
หน่วยงาน
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.