บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องเดียวกันนี้ ในการศึกษาปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ
การศึกษาสาเหตุและผลกระทบของการเคลื่อนย้ายแรงงานสตรีมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าไปใน ประเทศมาเลเซีย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเข้ม (Intensive interview) ร่วมกับวิธีการสังเกตใน ชุมชนปลายทาง ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 18 คน คือ แรงงานสตรีมุสลิมซึ่งมีภูมิลำเนาในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ที่เดินทางไปทำงานในร้านอาหารไทยใน 4 รัฐของประเทศมาเลเซียที่มีพรมแดนติดต่อกับ ประเทศไทย ได้แก่ รัฐปะลิส เกดะห์ เประ และกลันตัน ผลการศึกษาพบว่า การเคลื่อนย้ายแรงงานสตรีมุสลิมเข้าไป ในประเทศมาเลเซีย มีสาเหตุ 5 ประการ คือ 1) ความยากจน และภาวการณ์ว่างงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) สภาพสังคม ภาษา ศาสนา และประเพณีที่คล้ายคลึงกัน 3) การมีความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งเครือข่ายเครือญาติ และเครือข่ายการเป็นคนชุมชนหรือหมู่บ้านเดียวกัน 4) สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 5) ระยะทางที่ไม่ไกลจากชุมชนต้นทางในจังหวัดชายแดนภาคใต้และความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ผลกระทบของการเคลื่อนย้ายของแรงงานสตรีมุสลิมเข้าไปในประเทศมาเลเซียพบว่า ความสัมพันธ์ใน ครอบครัวในชุมชนต้นทางมีความผูกพันต่อกันมากขึ้น แรงงานสตรีได้รับการยอมรับจากพ่อแม่ และสมาชิกใน ครอบครัว เนื่องจากแรงงานสตรีได้ส่งเงินกลับเข้ามาช่วยเหลือทำให้สภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวดีขึ้น ขณะที่ ผลกระทบต่อแรงงานสตรีในชุมชนปลายทางพบว่า แรงงานสตรีมีความกดดันในการทำงานและการดำเนิน ชีวิตประจำวัน เนื่องจากใช้เพียงใบผ่านแดนและไม่มีใบอนุญาตทำงาน ประกอบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของ ประเทศมาเลเซีย ทำให้ทางการมาเลเซียตรวจตราแรงงานต่างชาติที่เข้าประเทศโดยผิดกฎหมายอย่างเข้มข้นมาก ขึ้น ส่งผลให้แรงงานผู้หญิงมุสลิมไทยทำงานด้วยความหวาดกลัว และต้องคอยระแวดระวังเจ้าหน้าที่