Knowledge Management of Women in the South

Title
ปัจจัยที่มีผลต่อการทำหมันของสตรีในเขตชนบท  ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคใต้
Abstract
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลและเป็นตัวกำหนดที่สำคัญต่อการทำหมันของสตรีที่แต่งงานแล้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ข้อมูลในการวิจัยนี้ได้จากโครงการสำรวจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งในการทำหมันของคู่สมรสในเขตชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2530 ซึ่งมีตัวอย่างจำนวน 499 ราย และโครงการสำรวจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเลือกใช้การทำหมันของคู่สมรสในเขตชนบทภาคใต้ พ.ศ. 2531 ซึ่งมีจำนวนตัวอ่าง 482 ราย
          
การวิเคราะห์แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนแรกวิเคราะห์ตัวแปรทีละตัว โดยคุมด้วยความแตกต่างของจำนวนที่มีชีวิตอยู่ในจำนวนบุตรที่ต้องการ ตอนที่ 2 วิเคราะห์ตัวแปรอิสระตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป เพื่อศึกษาตัวแปรใดที่มีผลต่อการทำหมันมากที่สุดหลังจากคุมด้วยตัวแปรอิสระตัวอื่นๆ
          
ผลการศึกษามีดังนี้ การทำหมันของสตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสัมพันธ์ (เมื่อวัดด้วยสถิติ Gama ตั้งแต่ .02 ขึ้นไป กับอายุของสตรีและสามี การศึกษาของสตรีและสามี ทัศนคติของสตรีเกี่ยวกันโยบายของรัฐบาลให้มีบุตร 2 คน และบุคลากรผู้ทำคลอดบุตรคนสุดท้าย ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน ที่ตั้งไว้สำหรับในภาคใต้ พบว่า การทำหมันมีความสัมพันธ์กับอายุของสตรีและสามี อาชีพของสามี การศึกษาของสตรี การเปิดรับสื่อสารมวลชนของสตรี และบุคลากรผู้ทำคลอดบุตรคนสุดท้าย และเป็นตามสมมติฐานเช่นกัน ผลของการวิเคราะห์แบบ Multivariate analysis (ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยที่ปรับฐานแล้วของตัวแปรอิสระต่อการทำหมัน) พบว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออายุของสามีเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการทำหมันที่สำคัญ รองลงมาคือประเภทของบุคลากรผู้ทำคลอดบุตรคนสุดท้าย ทัศนคติของสตรีเกี่ยวกับนโยบายที่รัฐบาลที่ให้มีบุตร 2 คน การศึกษาของสตรี และในภาคใต้พบว่าอายุของสามีเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการทำหมันที่สำคัญที่สุด รองลงมาคือประเภทของบุคลากรผู้ทำคลอดบุตรคนสุดท้าย การเปิดรับสื่อสารมวลชนของสตรี อาชีพของสามี และการศึกษาของสามี
Author
อรพิน โคตะเป
Year
2532
Subject Group
ด้านประชากรศึกษา
  • การวางแผนครอบครัว
Type
วิทยานิพนธ์
Organization
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย