Knowledge Management of Women in the South

Title
การมีส่วนร่วมของผู้ชายต่อการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ตามทัศนะของบุคลากรทางสุขภาพ
Abstract
ได้รับทุนสนับสนุนโดยเงินรายได้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  พ.ศ. 2555
          
เมื่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นและสิ้นสุดด้วยการยุติการตั้งครรภ์ ผู้หญิงมักต้องรับผิดชอบผลที่ตามมาจาการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย และผู้ชายมักไม่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้หญิง การเข้าใจอย่างถ่องแม้ถึงทัศนะของบุคลากรทางสุขภาพเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ชายต่อการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาการให้บริการผู้หญิงและผู้ชายที่เผชิญกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการยุติการตั้งครรภ์โดยคำนึงถึงความไวทางเพศสภาวะ
          
การศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจทัศนะของบุคลากรทางสุขภาพเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ชายต่อการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 13 คน ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ 10 คน แพทย์ 2 คน และนักสังคมสงเคราะห์ 1 คน ที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้รับบริการที่ยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ รวบรวมข้อมูลโดยการตรวจสอบข้อมูลของผู้เข้าร่วมวิจัย
          
ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของผู้ชายต่อการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ตามทัศนะของบุคลากรทางสุขภาพประกอบด้วย “ประสบการณ์ของบุคลากรทางสุขภาพ” และ “มุมมองต่อการยุติการตั้งครรภ์ที่แตกต่าง”  ประสบการณ์ของบุคลากรทางสุขภาพเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ชายต่อการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ “ร่วมดูแลกัน” “ผู้หญิงดูแลตัวเอง” และ “การดูแลของผู้ชาย” การที่ผู้ชายต้องร่วมกันดูแลผู้หญิงเนื่องจาก “สิทธิพิเศษของผู้ชาย” หรือ “ความจำยอมของผู้หญิง” การดูแลที่ผู้ชายสามารถดูแลผู้หญิงได้ ได้แก่ ดูแลด้านร่างกาย ดูแลจิตใจ สังเกตอาการผิดปกติ และร่วมในการคุมกำเนิดโดยการมีมุมมองต่อการยุติการตั้งครรภ์ที่แตกต่าง อันได้แก่ ความเข้าใจในเหตุผลของผู้หญิง หรือการมีอคติจากการไม่ฟังเสียงผู้หญิง ส่งผลต่อประสบการณ์ของบุคลากรทางสุขภาพ
          
ผลการศึกษาครั้งนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ชายที่มีอิทธิพลมาจากอคติทางเพศ การสนับสนุนให้ผู้ชายเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้หญิงโดยปราศจากอคติทางเพศ เป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงการให้บริการทางสุขภาพที่เน้นให้ผู้หญิงเป็นศูนย์กลางความรับผิดชอบในอนามัยเจริญพันธ์ ไปสู่การให้บริการทางสุขภาพที่คำนึงถึงความเสมอภาคทางเพศระหว่างผู้ชายและผู้หญิง (วรางคนา ชัชเวช, จิตรานันท์ สมพร, และ สุรีย์พร กฤษเจริญ, 2555)
Author
วรางคณา ชัชเวช  จิรานันท์ สมพร  สุรีย์พร  กฤษ
Year
2555
Subject Group
ด้านประชากรศึกษา
  • การวางแผนครอบครัว
Type
งานวิจัย
Organization
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์