ได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2550
วัตถุประสงค์ของการศึกษาเชิงบรรยายครั้งนี้เพื่อ 1) สำรวจข้อมูลประวัติการตั้งครรภ์ของหญิงหลังแท้ง 2) ประเมินชนิด จำนวนและข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการแท้ง 3) ประเมินเหตุผลของการทำแท้งไม่ปลอดภัย 4) ประเมินภาวะแทรกซ้อน ผลกระทบและการจัดการหลังแท้ง และ 5) ศึกษาประสบการณ์และกระบวนการติดสินใจทำแท้ง การศึกษาครั้งนี้เป็นการสำรวจการแท้งใน 6 โรงพยาบาลในภาคใต้ของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงหลังแท้งที่รับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ จำนวนทั้งสิ้น 422 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีคำถามทั้งปลายเปิดและปลายปิด มีการตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
การรายงานผลการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ผลการศึกษาส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงปริมาณที่ศึกษาในสตรีหลังแท้ง 402 ราย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งในสามเป็นหญิงหลังทำแท้งไม่ปลอดภัย และเป็นหญิงที่ทำแท้งเอง และได้รับทำแท้งเพื่อการรักษาจำนวน 259 คน สตรีหลังแท้งให้เหตุผลของการทำแท้งไม่ปลอดภัยว่าเกิดจากปัญหาทางด้านสังคม ความไม่พร้อมในการมีบุตร ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ คือการมีรายได้ไม่เพียงพอ ปัญหาด้านครอบครัว เช่นกลัวครอบครัวอับอายหรือมีบุตรเพียงพอแล้ว กลุ่มตัวอย่างรายงานว่ามีอาการปวดท้องรุนแรง มีไข้และมีภาวะช็อค สตรีหลังแท้งมากกว่าหนึ่งในสาม มีผลกระทบด้านจิตใจเพียงอย่างเดียวคือไม่มีปัญหาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจร่วมด้วย สตรีส่วนใหญ่ที่ทำแท้งไม่ปลอดภัยตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ด้วยตนเอง และสตรีหลังทำแท้งไม่ปลอดภัยร้อยละ 49 ทำแท้งด้วนตนเอง ส่วนที่ 2 เป็นการรายงานผลการศึกษาเชิงคุณภาพที่ศึกษาในสตรีหลังแท้ 20 ราย พบว่า สตรีหลังแท้งส่วนใหญ่ ต้องการทำแท้งทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ หลังจากทำแท้งสำเร็จสตรีจะรู้สึกผ่อนคลายและหลังจากนั้นรู้สึกสำนักผิด สตรีหลังแท้งให้ข้อเสนอแนะว่า โรงพยาบาลของรัฐบาลควรมีบริการทำแท้งที่ปลอดภัยให้บริการสำหรับสตรีที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม
การศึกษาครั้งนี้พบว่าสตรีหลังทำแท้งไม่ปลอดภัยส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาทั้งทางด้านร่างกายจิตใจและเศรษฐกิจ ผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขในการจัดบริการให้คำปรึกษาและโปรแกรมการดูแลที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์จากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งโปรแกรมหรือบริการที่พัฒนาขึ้นนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับสตรีตั้งครรภ์ได้ใช้ประกอบในการตัดสินใจเกี่ยวกับดูแลสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง (โสเพ็ญ ชูนวล, และคนอื่นๆ, 2554)