องค์ความรู้ด้านผู้หญิงภาคใต้

ชื่อเรื่อง
ความกังวลของมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้าน
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความกังวลของมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้าน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 400 คน  จากมารดาที่นำทารกเกิดก่อนกำหนดมารับการตรวจที่คลินิกทารกภาวะเสี่ยงหรือคลินิกเด็กดีหลังจำหน่ายทารกจากหออภิบาลทารกแรกเกิดในโรงพยาบาล 6 แห่ง ในภาคใต้เป็นเวลา 1 เดือน เก็บข้อมูลโดยให้มารดาตอบแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด และแบบสอบถามความกังวลของมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้าน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  3 ท่าน ทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามความกังวลของมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้าน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและความกังวลของมารดาโดยใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลส่วนบุคคลกับระดับความกังวลของมารดาโดยใช้สถิติไคสแควร์  ผลการวิจัยพบว่า 1) มารดามีคะแนนเฉลี่ยความกังวลในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้านโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านความเศร้าโศกอยู่ในระดับสูง ความต้องการข้อมูลและด้านความเครียดและการเผชิญหน้าความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและด้านการพัฒนาบทบาทการเป็นบิดามารดาลบุตรอยู่ในระดับต่ำ 2) อาชีพและรายได้ขอครอบครัว ความสัมพันธ์กับระดับความกังวลของมารดาที่มีทารกก่อนกำหนดในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลสู่บ้าน 
 
ผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนพยาบาลโดยการให้ข้อมูลในการดูแลทารกแก่มารดาก่อนจำหน่ายทารกออกจากโรงพยาบาล และในช่วงที่ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมให้มารดาและทารกก่อนกำหนดเปลี่ยนผ่านที่เหมาะสมต่อไป (ฮานีฟะฮ เจ๊ะอาลี, 2557)
ผู้เขียน
ฮานีฟะฮ เจ๊ะอาลี
ปี
2557
ด้าน
ด้านสุขภาพแม่และเด็ก
  • ภูมิปัญญาเกี่ยวกับสุขภาพแม่และเด็ก
ประเภท
วิทยานิพนธ์
หน่วยงาน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์