การศึกษาเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและอธิบายภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภาคใต้ในการส่งเสริมสุขภาพจิตแม่และเด็กในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง โดยใช้กระบวนการสำรวจชุมชนเพื่อค้นหาปราชญ์ด้านภูมิปัญญาสุขภาพจิตในการดูแลแม่และเด็กเป็นผู้ให้ข้อมูลจำนวน 21 คน ที่มีคนในชุมชน อ้างถึงไม่น้อยกว่า 10 คน ว่าเป็นผู้รู้เรื่องการดูแลแม่ และเด็กอาศัยอยู่ในตำบลพนางตุงและตำบลนาโหนด จังหวัดพัทลุง ไม่น้อยกว่า 30 ปีสมัครใจและยินดีให้ข้อมูล เก็บข้อมูล ช่วงเดือน มกราคม 2551 ถึง พฤษภาคม 2552 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม สังเกต แบบไม่มีส่วนร่วม บันทึกภาคสนาม และบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา ภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพจิตมารดา 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การดูแลหญิงตั้งครรภ์ 2) การดูแล และประกอบพิธีกรรมสำหรับแม่ในระยะใกล้คลอดและระยะคลอด 3) การดูแลและพิธีกรรมสำหรับแม่หลัง คลอด สำหรับภูมิปัญญาด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็ก 7 ประเด็น ได้แก่ 1) การดูแลและพิธีกรรมสำหรับเด็กหลังคลอด 2) การเลี้ยงดูเด็กให้ได้รับอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ 3) การสร้างวินัยให้เด็กอยู่ในโอวาท เชื่อฟังผู้ใหญ่ 4) การร้องเรือหรือกล่อมเด็ก 5) การให้เล่นโดยทำของเล่น และเล่นกับเพื่อนๆ พี่น้อง ผู้ใหญ่ 6) การเล่านิทานสอดแทรกคุณธรรม ตลกขบขันและ 7) การให้เวลากับเด็ก ผลการศึกษานี้สะท้อนให้ว่าเป็นแนวทางการบูรณาการภูมิปัญญาพื้นบ้านกับการจัดระบบสุขภาพในปัจจุบันเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต (จุฑารัตน์ สถิรปัญญา, 2556)