Knowledge Management of Women in the South

Title
ผลของการสนับสนุนจากสามีต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดและระดับความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วของหญิงครรภ์แรก
Abstract
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการสนับสนุนจากสามีต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดและระดับความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วของหญิงครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ในระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน 2540 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ 60 ราย โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง เป็นกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากสามี และกลุ่มควบคุมหรือไม่ได้ได้รับการสนับสนุนจากสามี กลุ่มละ 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญหน้าความเจ็บปวดและมาตรวัดความเจ็บปวดของพรนิรันดร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการทดสอบที
 
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากสามี สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากสามีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001  และคะแนนระดับความเจ็บปวดที่ได้รับการสนับสนุนจากสามี ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากสามี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.001
Author
วีรวรรณ  ภาษาประเทศ
Year
2541
Subject Group
ด้านสุขภาพแม่และเด็ก
  • สุขภาพระยะการคลอด
Type
วิทยานิพนธ์
Organization
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์