Knowledge Management of Women in the South

Title
การพัฒนารูปแบบการดูแลสตรีหลังทำแท้ง
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการดูแลสตรีหลังทำแท้ง  2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของสตรีที่ได้รับการดูแลหลังทำแท้งภายหลังพัฒนารูปแบบ และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนารูปแบบการดูแลสตรีหลังทำแท้ง
 
การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ  1)  การประเมินรูปแบบการดูแลแบบเดิมและวางแผนร่วมกันเพื่อพัฒนารูปบการดูแล   2) การปฏิบัติการโดยนำรูปแบบการดูแลที่สร้างขึ้นไปทดลองปฏิบัติ  3) ปรับปรุงรูปแบบการดูแลให้สอดคล้องกับความต้องการของสตรีหลังทำแท้ง และ 4) การติดตามและประเมินผลการดูแลตามแอบที่ได้ปรับปรุงใหม่  กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา จำนวน 12 คน และสตรีหลังทำแท้งที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบจำนวน 60 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แนวคำถามปลายเปิด  และแบบสอบถามความพึงพอใจของสตรีหลังทำแห้ง มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 การเก็บข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม  การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ตามเนื้อหา เปรียบเทียบความพึงพอใจขอสตรีหลังทำแห้งต่อคุณภาพการดูแลของพยาบาลก่อนและหลังพัฒนาใช้สถิติ  Independent Sample t-test  เมื่อสิ้นสุดการวิจัยได้รูปแบบการดูแลสตรีหลังทำแท้ง คือการดูแลแบบองค์รวม ประกอบด้วย การสร้างสัมพันธภาพที่ประทับใจ การมีทัศนคติเชิงบวก การให้คำแนะนำและคำปรึกษา และให้การดูแลอย่างต่อเนื่องที่สอดคล้องกับความต้องการของสตรีหลังทำแท้ง ส่วนความพึงพอใจของสตรีทำแท้งก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการดูแลมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ปัญหาอุปสรรคในการพัฒนารูปแบบพบว่าพยาบาลมีภาระงานมากจึงต้องรีบทำงานให้เสร็จทันเวลา เกิดความเครียดและเหนื่อยหน่วยในการปฏิบัติงาน
 
สรุปการพัฒนารูปแบบการดูแลสตรีหลังทำแท้งโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เน้นการมีส่วนร่วมของพยาบาล ทำให้พยาบาลมีความตระหนักในการดูแลแบบองค์รวมมากขึ้น มีทัศนคติดีขึ้น ต่อสตรีหลังทำแห้ง ปรับปรุงการให้คำแนะนำและคำปรึกษาโดยสื่อการสอน เพื่อให้สตรีหลังทำแท้งนำไปปฏิบัติตามได้ (วัฒนา ศรีพจนารถ, และคนอื่นๆ, 2553)
Author
วัฒนา ศรีพจนารถ และคณะ
Year
2553
Subject Group
ด้านสุขภาพแม่และเด็ก
  • สุขภาพและการดูแลหลังคลอด
Type
งานวิจัย
Organization
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์