Knowledge Management of Women in the South

Title
การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของหญิงที่มีการฝากครรภ์และไม่ฝากครรภ์: ศึกษาเฉพาะกรณีหญิงมีครรภ์ที่คลอดที่ศูนย์อนามัยแม่และเด็กเขต 9 ยะลา
Abstract
ผู้วิจัยมุ่งศึกษาว่า ลักษณะทางประชากรและสังคมเศรษฐกิจมีผลต่อการรับบริการฝากครรภ์ของหญิงมีครรภ์หรือไม่ เช่น สถานที่ฝากครรภ์ อายุครรภ์เมื่อเริ่มฝากครรภ์ อาการเมืองเข้ารับการฝากครภ์ครั้งแรก ความสัมพันธ์เรื่องการรับรู้ถึงโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ การรับรู้อันตรายและความรุนแรงของโรคขณะตั้งครรภ์ การรับรู้ถึงการบริการคลอดในศูนย์อนามัยแม่และเด็ก เขต 9 ยะลา ในระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 กรกฎาคม 2527
 
ผลการวิจัยพบว่า หญิงมีครรภ์ที่รับบริการส่วนใหญ่อายุระหว่าง 20-24 ปี และ 25-29 ปี ที่เพิ่งตั้งครรภ์ครั้งรแก มีอาชีพทำนา ทำสวน จบชั้นประถมศึกษา และนับถือศาสนาพุทธ ได้รับบริการตรวจครรภ์ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข มักมีอาการผิดปกติขณะเริ่มผากครรภ์ หญิงมีครรภ์ที่รับรู้ถึงโอกาสการเกิดโรคแทรก อันตรายและความรุนแรงในการเกิดโรคแทรก และประโยชน์ในการฝากครรภ์ในระดับสูง จะไปรับบริการฝากครรภ์มากกว่าผู้ที่รับรู้น้อยกว่า กลุ่มที่มีการฝากครรภ์สูง ได้แก่ ผู้ที่มีการศึกษา อาชีพรับราชการ มีรายได้สูงอายุระหว่าง 25-29 ปี ลำดับครรภ์เป็นครรภ์แรกและครรภ์ที่ 2  กลุ่มที่มาฝากครรภ์ต่ำได้แก่ ผู้ที่ไม่มีการศึกษาหรือมีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา ลำดับครรภ์เป็นครรภ์ที่ 5 ขึ้นไป มีรายได้ต่ำ อาชีพทำนาทำสวน นับถือศาสนาอิสลาม สาเหตุที่ไม่ไปรับบริการฝากครรภ์คือ ไม่รู้ว่ามีการฝากครรภ์เพราะคิดว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ มีปัญหาด้านการเงิน การประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม มีภาระเลี้ยงดูลูก มีปัญหาด้านการเดินทาง หรือเป็นหญิงมีครรภ์ที่ไม่มีสามีและไม่ต้องการเด็กจึงไม่ไปฝากครรภ์ (บุษบง ชัยเจริญวัฒนา, 2531, หน้า 18)
Author
สุดา ภู่ทอง
Year
2529
Subject Group
ด้านสุขภาพแม่และเด็ก
  • สุขภาพระยะตั้งครรภ์
Type
วิทยานิพนธ์
Organization
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์