การวิจัยเชิงบรรยายหาความสัมพันธ์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความกลัวการคลอดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในไตรมาศที่ 3 จำนวน 390 คน ซึ่งมาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลศูนย์ 6 แห่งในภาคใต้ของประเทศไทยระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน2558 เก็บรวบรวมจ้อมูลโดยมใช้แบบสอบถามความกลัวการคลอด และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และการหาค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและค่าสหสัมพันธ์แบบสเปียรแมน
ผลการวิจัยพบว่า หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในไตรมาสที่ 3 มีความกลัวการคลอดในระดับสูงถึงสูงมาก ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความกลัวการคลอด ตัวแปรอื่นๆ ได้แก่อายุ รายได้ครอบครัว และจำนวนครั้งของการคลอดไม่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการคลอดของหญิงตั้งครรภ์ ผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ในการพัฒนารูปแบบการดูแลเพื่อช่วยลดความกลัวการคลอด โดยการส่งเสริมความรู้สึกในคุณค่าของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม (จีราภรณ์ ปราบดิน, 2559)