Knowledge Management of Women in the South

Title
ความต้องการการดูแลภายใต้การคลอดวิถีธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์ในภาคใต้
Abstract
การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการการดูแลภายใต้การคลอดวิถีธรรมชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การคลอด ศาสนาและการศึกษากับความต้องการดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลของรัฐในภาคใต้ จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามความต้องการการดูแลภายใต้การคลอดวิถีธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์ในภาคใต้ หาค่าความเที่ยงโดยวิธีการสอบซ้ำได้เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การคลอดและการศึกษากับความต้องการดูแลภายใต้การคลอดวิถีธรรมชาติให้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ส่วนตัวแปรศาสนาใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล
 
ผลการศึกษา พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีความต้องการการดูแลภายใต้การคลอดวิถีธรรมชาติโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านส่งเสริมการรับรู้ศักยภาพของตนเองมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด  และอีก 3 ด้าน มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการบรรเทาความเจ็บปวดโดยไม่ใช้ยา หลีกเลี่ยงการแทรกแซงการคลอด และการปฏิบัติกิจกรรมเท่าที่จำเป็น  ส่วนการส่งเสริมกระบวนการตลอดตามธรรมชาติมีค่าคะแนนเฉลี่ยในระดับปานกลาง ผลการทดสอบความสัมพันธ์พบว่าประสบการณ์การคลอดที่มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับน้อยมากกับความต้องการการดูแลภายใต้การตลอดวิถีธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05  ในขณะที่ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกระดับน้อยมากกับระดับความต้องการดูแลดังกล่าว ส่วนศาสนาพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการดูแลดังกล่าว
 
ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงตั้งครรภ์ในภาคใต้โดยทั่วไปมีความต้องการดูแลภายใต้การลอดวิถีธรรมชาติ ดังนั้นผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพ ควรมีการส่งเสริมการให้บริการการคลอดวิถีธรรมชาติ ให้เป็นรูปธรรมและตอบสนองต่อความต้องการดูแลภายใต้การคลอดวิถีธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์ (เสาวภา มุสิกะชาติ, 2554)
 
Author
เสาวภา มุสิกะชาติ
Year
2554
Subject Group
ด้านสุขภาพแม่และเด็ก
  • สุขภาพและการดูแลหลังคลอด
Type
วิทยานิพนธ์
Organization
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์