องค์ความรู้ด้านผู้หญิงภาคใต้

ชื่อเรื่อง
ผลการจดท่าผีเสื้อประยุกต์ต่อความปวดและเวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็วในหญิงระยะคลอด
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ต่อความปวดที่บริเวณท้อง ความปวดที่บริเวณหลังส่วนล่างและเวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็วในหญิงระยะคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ปกติที่มาคลอดโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในภาคใต้จำนวน 60 คน ระหว่างเดือนเมษายน 2557 ถึงเดือนมีนาคม 2558 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์เมื่อปากมดลูกเปิด 3-4 เซนติเมตร จัดท่าทุก 1 ชั่วโมง ครั้งละ 15 นาที จนกระทั่งปากมดลูกเปิดหมด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความปวดชิดมาตรวัดความปวดด้วยสายตา (VAS)  แบบบันทึกข้อมูลในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว และคู่มือการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ในหญิงระยะคลอด  ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) หญิงระยะคลอดที่ได้รับการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์มีความปวดที่บริเวณท้องไม่แตกต่างกบกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติช่วงมดลูกเปิด 5-71 เซนติเมตร และช่วง 8-10 เซนติเมตร  2) หญิงระยะคลอดที่ได้รับการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ที่ความปวดที่บริเวณหลังส่วนล่างไม่แตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลปกติ 3) หญิงระยะคลอดที่ได้รับการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ในระยะปากมดลูกเปิดเร็วน้อยกว่ากลุ่มควบคุม
 
ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า การจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ช่วยให้ความก้าวหน้าของการคลอดเร็วขึ้น ดังนั้นควรนำการจัดท่าผีเสื้อมาใช้ในระยะปากมดลูกเปิดเร็วเพื่อช่วยลดเวลาการคลอดให้สั้นลง (กิตติมา ด้วงมณี, 2558)
ผู้เขียน
กิตติมา ด้วงมณี
ปี
2558
ด้าน
ด้านสุขภาพแม่และเด็ก
  • สุขภาพระยะการคลอด
ประเภท
วิทยานิพนธ์
หน่วยงาน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์