การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกายบริหารต่ออาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ คัดเลือกหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ และมีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงตามที่กำหนด จำนวน 60 ราย โดยจัดให้ 30 รายแรกเป็นกลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมการบริหารเพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์ ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลตามปกติ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมกายบริหารเพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์ 2) สื่อนำเสนอภาพนิ่ง -3) คู่มือกายบริหาร 4) แบบประเมินความปวดชนิดเส้นตรง และ 5) แบบประเมินลักษณะและตำแหน่งอาการปวดหลังส่วนล่าง
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีการอาการปวดหลังส่วนล่างน้อยกว่ากลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยลำดับที่ของคะแนนความปวดหลังส่วนล่างน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมกายบริหารสามารถบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์ได้ จึงควรนำไปประยุกต์ใช้ในแผนฝากครรภ์ เพื่อเป็นแนวทางในการออกกายบริหารในหญิงตั้งครรภ์ (กาญจนา โกทิยะ, 2554)