องค์ความรู้ด้านผู้หญิงภาคใต้

ชื่อเรื่อง
ผลของโปรแกรมการตั้งเป้าหมายร่วมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและค่าฮีโมโตคริตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการตั้งเป้าหมายร่วมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและค่าฮีมาโตคริตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจากการขาดธาตุเหล็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางที่มารับบริการจากโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคใต้ซึ่งได้รับการคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการดูแลตามโปรแกรมการตั้งเป้าหมายร่วมและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มละ 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมการตั้งเป้าหมายร่วมเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ส่วน ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการตั้งครรภ์ เครื่องมือดังกล่าวได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินพฤติกรรมการดุแลตนเองโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีอิสระ สถิติทีคู่ สถิติวิลคอกซันไซด์ขแรง เทศ และสถิติแมนวิทนย์ ยู เทศ
 
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  1) หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางที่ได้รับโปรแกรมการตั้งป้าหมายร่วมมีพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวม สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม  เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการดูแลตนเองรายด้านพบว่าสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมทุกด้านและหญิงตั้งครรภ์ทีค่าเฉลี่ยฮีมาโตคริต สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม  2) หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับโปรแกรมการตั้งเป้าหมายร่วมมีพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการดูแลรายด้านพบว่า ด้านการเลือกรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก และด้านการรับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก มีพฤติกรรมการดูแลตนเองสูกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนพฤติกรรมการดูแลตนเอง ด้านการรับประทานที่ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก ด้านการงด/หลีกเลี่ยงอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก ด้านการป้องกันภาวะโลหิตจากเพิ่ม และค่าเฉลี่ยฮีมาโตคริตไม่มีความแตกต่างกัน
 
ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการตั้งเป้าหมายร่วมเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง และมีค่าฮีมาโตคริตสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างไรก็ตามผลการศึกษาครั้งนี้สนับสนุนสมมุติฐานเพียงบางส่วน เนื่องจากลุ่มควบคุมมีพฤติกรรมการดูแลตนเองรายด้านไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการนำโปรแกรมไปใช้ต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ (สุจิรา พรมทองบุญ, 2556)
ผู้เขียน
สุจิรา พรมทองบุญ
ปี
2556
ด้าน
ด้านสุขภาพแม่และเด็ก
  • สุขภาพระยะตั้งครรภ์
ประเภท
วิทยานิพนธ์
หน่วยงาน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์