การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจแบบกลุ่มต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดระยะที่ 1 ของการคลอดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นกลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มาผากครรภ์ และคลอดที่โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในภาคใต้ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยคัดเลือกตามคุณลักษณะที่กำหนดจำนวน 50 ราย และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจแบบกลุ่ม จำนวน 25 ราย และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติจำนวน 25 เครื่องมือที่ใช้ มี 2 ส่วน
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจแบบกลุ่ม ซึ่งเป็นชุดกิจกรรมที่ในการเสริมสร้างพลังอำนาจประกอบด้วย 1) สื่อวิดีโอสัมภาษณ์มารดาวัยรุ่นเกี่ยวกับประสบการณ์การคลอด 2) สื่อนำเสนอภาพนิ่งเกี่ยวกับกระบวนการคลอด การเจ็บครรภ์คลอด เทคนิคการบรรเทาความเจ็บปวด และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเผชิญความเจ็บปวดไม่เหมาะสม 3) บัตรแรงใจและ 4) คู่มือการปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บครรภ์คลอดสำหรับหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่อายุครรภ์ 32-36 สัปดาห์ จำนวน 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2 สัปดาห์ แต่ละครั้งใช้เวลา 60 นาที และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และ 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดระยะที่ 1 ของการคลอด
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจแบบกลุ่ม มีพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดระยะปากมกลูกเปิดช้าในระยะที่ 1 ของการคลอด เหมาะสมมากกว่าหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ
ดังนั้น จึงควรนำโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจแบบกลุ่มนี้ไปใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพให้ผู้คลอดเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสามารถของตนเองในการควบคุมพฤติกรรมความเจ็บปวด ช่วยให้มีประสบการณ์การคลอดที่ดีและเกิดความพึงพอใจต่อการดูแลที่ได้รับ (มลิวัลย์ รัตยา, 2557)