องค์ความรู้ด้านผู้หญิงภาคใต้

ชื่อเรื่อง
ผลของโปรแกรมพลังบำบัดเรกิทางการพยาบาลต่อความสุขสบายในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้อง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพลังบำบัดทางการพยาบาลต่อสุขภาพในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้อง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่เตรียมผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องจำนวน 60 ราย  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าแบบเฉพาะเจาะจง โดยจัดให้หญิงตั้งครรภ์ที่เตรียมผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้อง 30 ราย เป็นกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และอีก 30 ราย เป็นกลุ่มทดลองได้รับการฝึกปฏิบัติการให้พลังบำบัดเรกิด้วนตนเองเป็นเวลา 6-9 สัปดาห์ ก่อนผ่าตัดคลอด โดยเริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์ และเมื่ออายุครรภ์ระหว่าง 28-30 สัปดาห์ และต่อเนื่องกระทั่งระยะหลังคลอด
 
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสุขสบายภายหลังผ่าตัดคลอดในทุกช่วงเวลาที่ 12 24 48  และ 72 ชั่วโมง สูงกว่ากลุ่มควบคุม  ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้พลังบำบัดเรกิทางการพยาบาลส่งผลต่อการเพิ่มความสุขสบายภายหลังผ่าตัดคลอด ดังนั้นพยาบาลควรประยุกต์การบำบัดทางการพยาบาลด้วยพลังบำบัดเรกิร่วมกับการพยาบาลมาตรฐานเพื่อส่งเสริมความสุขสบายของมารดาภายหลังผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้อง (จันทร์ปภัสร์ เครือแก้ว, 2557)  
ผู้เขียน
จัณทร์ปภัสร์ เครือแก้ว
ปี
2557
ด้าน
ด้านสุขภาพแม่และเด็ก
  • สุขภาพและการดูแลหลังคลอด
ประเภท
วิทยานิพนธ์
หน่วยงาน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์