ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวร่วมกับการสนับสนุนของสามีต่อพฤติกรรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ของหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์ก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในภาคใต้ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน 2555 ซึ่งคัดเลือกตามคุณลักษณะที่กำหนดจำนวน 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลงที่ได้รับการโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวร่วมกับการสนับสนุนของสามี และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มละ 25 คน เครื่องเมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรกมส่งเสริมการปรับตัวร่วมกับการสนับสนุนของสามี และเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์ก่อนกำหนด และ 2) แบบประเมินพฤติกรรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนดซึ่งเครื่องมือดังกล่าวได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และทำการสอบหาความเที่ยงของแบบประเมินพฤติกรรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค เท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ในการทดลองข้อมูลส่วนบุคคล สถิติที สถิติ วิลคอกซอน-ซายน์ แรงค์เทส ยูเทศ ในการทดสอบสมมุตฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) หญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวร่วมกับการสนับสนุนของสามีมีพฤตกรรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนดหลังเข้าร่วมโปรแกรม ดีกว่าได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.001
2) หญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์ก่อนกำหนดที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวร่วมกับการสนับสนุน ของสามีมีพฤติกรรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.001
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวการสนับสนุนของสามีครั้งนี้ สามารถช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมีพฤติกรรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนดดีขึ้น ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมนี้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลแก่หญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บคลอดก่อนกำหนด เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้อย่างเหมาะสม และสามารถดำเนินการตั้งครรภ์ได้จนอายุครรภ์ครบกำหนด (ปิยะนุช เมฆฉาย, 2555)