ภาวะเลือดจางเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็ก หญิงวัยเจริญพันธ์และช่วงระหว่างตั้งครรภ์ จากการศึกษา อุบัติการณ์เลือดจางของสตรีที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ พบร้อยละ 26.4 เมื่อถือเกณฑ์ธีมาโคคริกต่ำกว่าร้อยละ 33 และร้อยละ 7.3 เมื่อถือเณฑ์ธีมาโคคริกต่ำกว่าร้อยละ 10 ค่าเฉลี่ยธีมาโคคริกในสตรีเหล่านี้เท่ากับร้อยละ 34.4 หรือประมาณ ¼ ขอสตรีตั้งครรภ์ทั้งหมด ซึ่งเป็นอุบัติการณ์ที่สูง และส่วนใหญ่สตรีที่มาฝากครรภ์ มีอาชีพข้าราชการ และแม่บ้าน อยู่ในกลุ่มที่มีฐานะโดยเฉลี่ยค่อนข้างดี อุบัติการณ์นี้ไม่สามารถแสดงภาวะเลือดจางที่แท้จริง ในสตรีที่ตั้งครรภ์ทั้งหมดได้ในชนบทห่างไกลออกไป อุบัติการณ์เลือดจางในสตรีตั้งครรภ์ น่าจะสูงกว่านี้มาก
สตรีอายุ 35 ปี เมื่อตั้งครรภ์จะอยู่ในกลุ่มมารดาที่มีความเสี่ยง จะมีอุบัติการณ์ของภาวะเลือดจางเพิ่มขึ้น และจะมากขึ้นตามอายุครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 ดังนั้น สตรีที่ตั้งครรภ์ควรได้รับการป้องกันหาสาเหตุภาวะเลือดจางตั้งแต่แรกเริ่ม และควรรับธาตุเหล็กเสริมทางปากทุกราย (บุษบง ชัยเจริญวัฒนา, 2531, p. 19)