การวิจัยครั้งนี้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมให้สตรี กลุ่มเสี่ยงอายุ 35-59 ปี มารับบริการตรวจหามะเร็งปาก มดลูกเป็นปกติอย่างน้อย 1-2 ปีต่อครั้ง จะช่วยให้ง่ายแก่การรักษาให้หายขาดได้และลดอัตราตายด้วยมะเร็งปากมดลูก ได้ด้วย โดยนำรูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับกระบวนการกลุ่มในการส่งเสริมพฤติกรรมการมารับบริการตรวจหามะเร็งปากมดลูกเพื่อให้กลุ่มทดลองได้ตระหนักถึงความสำคัญของ การมารับบริการตรวจหามะเร็งปากมดลูกเองโดยไปใช้บริการที่มีอยู่ตามปกติ การศึกษาครั้งนี้ระหว่างเดือนธันวาคม 2538 ถึงกุมภาพันธ์ 2539 กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่แต่งงานแล้ว อายุ 35-59 ปี ของตำบลบ้านเกาะและตำบลนาเรียง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ตำบลละ 50 คน โดยกำหนดให้ตำบลบ้านเกาะเป็นกลุ่มทดลอง และตำบลนาเรียง เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ ทั้งนี้กลุ่มทดลองจะได้รับรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกจากอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ประจำสถานีอนามัยบ้านนาเสนที่ผ่านการอบรมจากผู้วิจัยแล้ว โดยแบ่งกลุ่มทดลอง ออกเป็นกลุ่มย่อยตามสภาพพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียงกันนัดมารวมกันจัดกิจกรรมกลุ่มละ 1 ครั้ง ๆ ละ ครึ่งวัน ทั้งหมด 5 กลุ่ม และทดสอบก่อนการทดลอง และหลังจากการจัดกิจกรรม 4 สัปดาห์ ก็ทำการทดสอบหลังการทดลอง แล้วรวบรวมการมา รับบริการตรวจหามะเร็งปากมดลูก ในสัปดาห์ที่ 10 ของการ ทดลอง ในการวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการทดลองและรวบรวมจำนวนผู้มารับบริการตรวจหามะเร็ง ปากมดลูก
ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการจัดโปรแกรมสุขศึกษา กลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้อง ในเรื่อง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก การรับรู้ ความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูก การรับรู้ผลดีและความตั้งใจ ในการไปรับบริการตรวจหามะเร็งปากมดลูก เมื่อเปรียบเทียบหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและ กลุ่มเปรียบเทียบก็พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิด มะเร็งปากมดลูก การรับรู้ความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูก การรับรู้ผลดีในการไปรับบริการตรวจหามะเร็งปากมดลูก มี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความแตกต่างของสัดส่วนผู้มารับบริการตรวจหามะเร็ง ปากมดลูกระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการประยุกต์ใช้รูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับ กระบวนการกลุ่ม ในการส่งเสริมพฤติกรรมให้สตรีมารับบริการ ตรวจหามะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่วางไว้ของ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่ามีการกระตุ้น เตือนและการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการระดมความคิด (A-I-C) เข้ามาช่วยให้กลุ่มทดลองตระหนักได้เองในความ สำคัญของการมารับบริการตรวจหามะเร็งปากมดลูก