งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) ศึกษาคุณค่าของสตรีไทยผ่านมุมมองปราชญ์ชาวบ้านภาคใต้ที่ปรากฏในวรรณกรรมปฏิทัศน์ จำนวน 22 เรื่องซึ่งสะท้อนภาพในอดีตเกี่ยวกับประเด็นเรือนสามน้ำสี่ และ 2) ศึกษาพลวัตเกี่ยวกับคุณค่าของสตรีไทยในอดีตซึ่งเป็นผลจาก
ผลการศึกษาพบว่า “เรือนสามน้ำสี่” คือ คุณค่าของสตรีไทยที่คนในสังคมคาดหวัง หรือ ต้องการให้เป็นในลักษณะกุลสตรี คล้ายกับ “เบญจกัลยาณี” ต่างกันตรงที่“เบญจกัลยาณี” สะท้อนเพียงคุณค่าความงามด้านร่างกาย ได้แก่ ผมงาม เนื้องามกระดูกงาม ผิวงาม และวัยงาม ซึ่ง “เรือนสามน้ำสี่” ที่ปรากฏในวรรณกรรมทักษิณประกอบด้วย “เรือนสาม” ได้แก่ เรือนกาย เรือนผม และ เรือนอยู่ สำหรับ “น้ำสี่”ประกอบด้วย น้ำชื่อ (นามเรียกขาน) น้ำใช้ น้ำกิน และน้ำใจ ที่สำคัญ มีการกล่าวถึงในวรรณกรรมของไทยเกือบทุกภาค แต่ละภาคจะมีองค์ประกอบที่เหมือนและต่างกันซึ่งคุณค่าของ “เรือนสามน้ำสี่” หากหญิงใดมีองค์ประกอบครบถ้วนตามนี้จะได้รับการยกย่องว่าเป็นสตรีที่ดี เป็นภรรยาที่ดี และมีโอกาสได้คู่ครองที่ดี ที่สำคัญยังพบว่าเยาวชนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ไม่รู้จัก “เรือนสามน้ำสี่” เนื่องจากพบว่ามีงานที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้จำนวนน้อยกว่าในอดีต ต้นฉบับส่วนใหญ่เป็นหนังสือบุด ยากที่เยาวชนรุ่นใหม่จะทำ ความเข้าใจเพราะส่วนใหญ่จารึกด้วยภาษาบาลี และภาษาเขมร รวมถึงความหวงแหนต้นฉบับของผู้ครอบครอง และขาดการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้จากรุ่นสู่รุ่น โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนผ่านของสังคมที่อาจทำให้องค์ความรู้บางอย่างสูญหายและมีความพลวัตไปตามกาลเวลา นอกจากนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองในยุคปัจจุบันมีภาระหน้าที่มากขึ้นต้องทำงานนอกบ้านทั้งสองคนเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวในภาวะค่าครองชีพสูงอย่างในปัจจุบัน ผู้ปกครองจึงมีเวลาอบรมบ่มนิสัยแก่บุตรหลานสตรีเกี่ยวกับประเด็นนี้น้อยลง ทั้งนี้ คุณค่าดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย กอปรกับอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่แทรกซึมเข้ามาในยุคโลกาภิวัตน์ อย่างไรก็ตาม สังคมทุกยุคทุกสมัยอย่างน้อยในภาคใต้ก็ยังคงคาดหวังให้สตรีไทยมีความเพียบพร้อมในแบบฉบับของ “เรือนสามน้ำสี่” (ประทุมทิพย์ ทองเจริญ, 2560)