พัฒนาการของการใช้ทรัพยากรกระจูด ไม่เพียงแต่ได้ขับบทบาทของผู้หญิงในชุมชนให้เป็นที่ปรากฏต่อสาธารณะ หากแต่ยังแสดงให้เห็นกระบวนการจัดการทั้งทางด้านวัตถุดิบ ด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการต่อรองโดยการรวมกลุ่ม การจัดการด้าน การตลาด จนกลายเป็นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ของครัวเรือน ซึ่งไปผลักดันให้คุณภาพชีวิตในด้าน อื่นๆ ของสมาชิกในชุมชนให้ดีขึ้น ลบล้างภาพลักษณ์ เก่าก่อนที่ถูกมองว่า ที่นี่เป็นถิ่นโรคเท้าช้างอันน่า รังเกียจ ดงหลบซ่อนของโจรผู้ร้าย และหนทางสัญจร ที่ทุรกันดาร จากสายของชุมชนภายนอกได้
อย่างไรก็ตาม พัฒนาการของทรัพยากรกระจูด ก็ได้ก่อให้เกิดการแตกตัวของชุมชนบางส่วนขึ้นทั้งจากการแย่งชิงกันใช้ทรัพยากร จากเดิมที่กระจูดเป็นทรัพยากรสาธารณะ ก็กลายเป็นพื้นที่กรรมสิทธิ์ส่วน บุคคล รวมทั้งความล้มเหลวของกลุ่มแม่ค้ารายย่อย หลายรายที่ขาดเทคนิคทางการตลาดกระทั่งต้อง แยกตัวออกไปจากชุมชน ประการสำคัญสุด การมีมูลค่าเพิ่มในมิติสินค้าทางวัฒนธรรม ได้ส่งผลต่อ การเปลี่ยนแปลงของวิถีชุมชนอย่างรุนแรง โดยเฉพาะรูปแบบการบริิโภคของผู้คนที่มิได้แตกต่างกับชุมชนในแถบเมืองทั่วๆ ไป ภาพการสร้างรายได้จากฐานทรัพยากรในท้องถิ่น ที่ถูกประชาสัมพันธ์เป็นแบบอย่างของชุมชนเบื้องนอก จึงคล้ายมายาคติที่ รัฐเพียรพยายามสร้างขึ้น โดยที่ชุมชนยังคงพึ่งพา ตลาดภายนอกในปัจจัยด้านอื่นๆ อยู่เกือบทั้งสิ้น โดยเฉพาะวัฒนธรรมการบริโภค “ความทันสมัย” ที่ ไม่ได้ต่างจากคนเมืองแต่อย่างใด ดังที่ สมร เพ็งหนู เปรยขึ้นในหมู่ผู้หญิงที่สานกระเป๋าด้วยน้ำเสียงปกติ ว่าแรงงานของเธอสองวัน ได้แค่การ์ดโทรศัพท์ราคาสองร้อยบาทหนึ่งใบเท่านั้น ชุมชนควนเคร็งก็เช่นเดียวกับชุมชนในแถบอื่นของภาคใต้ คตินิยมยกย่องผู้ชายเป็นใหญ่ในอดีตได้ก่อรูปให้เกิดการสถาปนา “ค่านิยม” ที่มุ่งมองงาน นอกบ้านซึ่งเสี่ยงภัยและมีภาวะการนำในบริบทของ หมู่ผู้ชายด้วยกัน เป็นสิ่งเน้นความสำคัญ กระทั่ง ทำให้มองข้ามบทบาทผู้หญิงทั้งในและนอกบ้าน ซึ่ง เป็นหลักสำคัญในการบริหารจัดการครอบครัวที่มิด้อยกว่าผู้ชาย กรณีศึกษากระจูดกับผู้หญิงในชุมชน พรุควนเคร็ง ได้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มผู้หญิงได้ยืน หยัดในการปลูกสร้าง ถ่ายทอด และดำรงทักษะแห่ง วิถีชีวิตชุดหนึ่งขึ้นมา เพื่อนำทรัพยากรพื้นฐานในท้องถิ่นขึ้นมาปรับใช้ รักษาความรู้นั้นไว้ท่ามกลาง “ความไร้มูลค่า” ในสายตาของยุคสมัย เพียรพัฒนา สั่งสม ถ่ายทอด กระทั่งทักษะแห่งความรู้ข้ามผ่าน เวลาไปสู่อีกยุคสมัย และเมื่อมันสอดคล้องกับภาวะวิสัยเบื้องนอก งานที่เคยไร้คุณค่าในอดีตก็ได้กลับมามีความหมายและมีความสำคัญต่อชุมชนในแง่การสร้าง “มูลค่า” ขณะกลุ่มผู้ชายซึ่งมุ่งออกไปมีบทบาทสำคัญอยู่เบื้องนอกก่อนนี้ เผชิญกับการ เปลี่ยนแปลงของทรัพยากรและแนวคิดจากยุคสมัยใหม่ กระทั่งตกอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถเข้าไปมี บทบาทในงานที่เคยมองว่า “ต่ำต้อยและด้อยค่า” นั้นได้ ด้วยขาดการสั่งสมทักษะและความชำนาญ การผู้ชายจึงมีฐานะเพียงเป็นผู้สนับสนุนของกลุ่มผู้หญิง (สุวิทย์ มาประสงค์, 2558)