การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) ในจังหวัดปัตตานีทั้ง 5 ด้าน คือ 1) ด้านการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของพรรคการเมือง การเป็นผู้มีบทบาทในชุมชน การติดต่อกับทางราชการ และการเป็นผู้สื่อสารทางการเมือง 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) ตามตัวแปรอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส การนับถือศาสนา การรับรู้ข่าวสารทางการเมือง และ 3) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) ในจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) ในจังหวัดปัตตานีจำนวน 374 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) ในจังหวัดปัตตานีโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนรายด้านคือ ด้านการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอยู่ในระดับสูง ด้านการเป็นผู้มีบทบาทในชุมชน ด้านการเป็นผู้สื่อสารทางการเมือง ด้านการติดต่อกับทางราชการอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของพรรคการเมืองอยู่ในระดับต่ำ 2) อายุต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวมไม่แตกต่างกัน ด้านการเป็นผู้สื่อสารทางการเมืองไม่แตกต่างกัน 3) ระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวมไม่แตกต่างกัน และด้านการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของพรรคการเมือง ด้านการเป็นผู้มีบทบาทในชุมชน ด้านการติดต่อกับทางราชการ ด้านการเป็นผู้สื่อสารทางการเมืองไม่แตกต่างกันเช่นเดียวกัน 4) อาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวม และรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน 5) รายได้ต่อเดือนต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวม และรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน 6) สถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวมแตกต่างกัน 7) การนับถือศาสนาต่างกันมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวมไม่แตกต่างกัน 8) การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวมแตกต่างกัน