องค์ความรู้ด้านผู้หญิงภาคใต้

ชื่อเรื่อง
ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและทุนทางสังคมที่มีต่อการจัดการตนเองและการจัดการภายในครอบครัวของครูสตรีมุสลิมสมรส ที่นำไปสู่ครอบครัวเข้มแข็งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการให้ความหมาย องค์ประกอบและเงื่อนไขที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการตนเองและการจัดการภายในครอบครัวที่ทำให้ครอบครัวเข้มแข็ง 2) ทดสอบ รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการตนเองและการจัดการภายในครอบครัวที่มีต่อ ครอบครัวเข้มแข็งและพัฒนาแนวทางการปฏิบัติที่ดีของสตรีมุสลิมที่นำไปสู่ครอบครัวเข้มแข็ง
 
ผลการวิจัยพบว่า การจัดการตนเองและการจัดการภายในครอบครัว หมายถึง การที่ครูสตรีมุสลิม สมรสมความสามารถในการจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสมาชิกในครอบครัว และมีการปฏิบัติกิจกรรมในครอบครัวตามบทบาทหน้าที่ที่ได้ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่  1) การ ได้รับการสนับสนุนจากคนในครอบครัว  2) การแก้ปัญหาตนเองและครอบครัว  3) การมองในมุมบวก  4) การได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง และ  5) การใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา สำหรับ ครอบครัวเข้มแข็ง หมายถึง ครอบครัวที่นำหลักการของศาสนาอิสลามมาใช้ในการดำเนินชีวิต ครอบครัว โดยที่สมาชิกภายในครอบครัวของครูสตรีมุสลิมสมรส มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีการทำหน้าที่เพื่อเสริมสร้างความสมบูรณ์ในโครงสร้างต่างๆ ของครอบครัว มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่  1) การนำหลักศาสนาอสิลามมาใช้ในชีวิต  2) ความสามารถในการจัดการความเครียดและวิกฤต  3) การแสดงความรักอย่างเปิดเผยและให้กำลังใจคนในครอบครัว  4) การใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว  5) การช่วยเหลือดูแลเอาใจซึ่งกันและกัน  6) การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม 7) การเชื่อฟังสามีและ  8) การสื่อสารเชิงบวก และพบว่าเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) เงื่อนไขจากตัว บุคคล ประกอบด้วย มีความรับผิดชอบ มีการบริหารและจัดการเวลาที่ดีมิความเป็นผู้นำ มีวินัย มี การมองโลกในแง่ดีมีความมั่นใจในตนเอง มีความหวังในชีวิต และมีความสามารถในการปรับตัวต่อ ปัญหา และ 2) เงื่อนไขทางสังคม ประกอบด้วย การอาศัยอยู่ในบรรยากาศอิสลาม การได้รับการ สนับสนุนจากคนในครอบครัว การมีแบบอย่างที่ดีจากบุคคลในครอบครัว และการได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการตนเองและการจัดการภายในครอบครัวที่มีต่อ ครอบครัวเข้มแข็ง ภายหลังการปรับแก้มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่าทุนทางสังคมและทุนทางจิตวิทยา เชิงบวกร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการจัดการตนเองและการจัดการภายในครอบครัวได้ ร้อยละ 87 ทุนทางสังคม ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและการจัดการตนเองและการจัดการ ภายในครอบครัว ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของครอบครัวเข้มแข็งได้ร้อยละ 78 และ ทุนทางสังคมได้ สามารถอธิบายความแปรปรวนของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกได้ร้อยละ 62 และภาพรวมของการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติในการจัดการตนเองและการจัดการภายใน ครอบครัวที่นำไปสู่ครอบครัวเข้มแข็งมีความเหมาะสม เป็นแนวทางที่มีองค์ความรู้มีวิธีการประเมนิ ตนเองและวิธีการในการปฏิบัติเพื่อจะทำอย่างไรให้สามารถจัดการตนเองและจัดการในครอบครัวได้ ซึ่งแนวทางการปฏิบัตินี้สามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาตนเองและพัฒนาสร้างสรรค์สังคมสตรีที่ดี ต่อไป (นัชชิมา บาเกาะ, 2560)
ผู้เขียน
นัชชิมา บาเกาะ
ปี
2560
ด้าน
ด้านผู้หญิงกับปัญหาชายแดนภาคใต้
  • การเคลื่อนไหวและกระบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ
ประเภท
วิทยานิพนธ์
หน่วยงาน
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ