การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพข้อมูลทั่วไป ปัญหาและความต้องการของกลุ่มคลัสเตอร์สิ่งทอสตูลญามิล 2) สังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสตรีอาชีพผ้ามัดย้อมด้วยสีธรรมชาติชุมชนบ้านหัวทาง อำเภอเมืองจังหวัดสตูล 3) ประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ ความสอดคล้องและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสตรีอาชีพผ้ามัดย้อมด้วยสีธรรมชาติชุมชนบ้านหัวทาง อำเภอเมืองจังหวัดสตูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปปัญหาของกลุ่มสิ่งทอสตูลญามิล ได้แก่ ขาดความเข้มแข็งของกลุ่ม ส่วนใหญ่ขาดโครงสร้างคณะกรรมการ ขาดผู้นำกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง ขาดคนงาน ด้านการผลิต ราคาต้นทุนยังสูง ด้านกำลังการผลิตส่วนใหญ่ผลิตไม่ทัน ขาดความรู้เรื่อง การออกแบบ ขาดเงินทุนหมุนเวียน ขาดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านการตลาด กลุ่มยังไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ไม่ได้รับการส่งเสริมด้านการตลาดและขาดความรู้เรื่องขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ กลุ่มมีความต้องการในด้านต่างๆ ดังที่กล่าวมากแล้ว
2. ผลการสังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสตรีอาชีพทอผ้ามัดย้อมด้วยสีจากธรรมชาติ ชุมชนบ้านหัวทาง อำเภอเมืองจังหวัดสตูล ได้ปรับปรุงโครงสร้างของคณะกรรมการบริหารจัดการกลุ่มสตรีผ้ามัดย้อมด้วยสีธรรมชาติ โดยมีคณะกรรมการ 10 คน เป็นคนในชุมชน 7 คน และเป็นคนนอกชุมชน 3 มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ กฎระเบียบข้อบังคับของกลุ่มอย่างชัดเจน ทำให้กลุ่มสตรีสามารถดำเนินกิจกรรมได้ดีขึ้น สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น
3. รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสตรีอาชีพผ้ามัดย้อมด้วยสีธรรมชาติชุมชนบ้านหัวทาง อำเภอเมืองจังหวัดสตูล มีความเหมาะสม ความสอดคล้อง ความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ในระดับมาก เมื่อเมื่อปรับปรุงรูปแบบตามข้อเสนอของผู้ทรงคุณวุฒ ได้รูปแบบบริหารการจัดการกลุ่ม มีขั้นตอนการดำเนินการตามรูปแบบต่อไปนี้ คือ เข้าใจปัญหา ต่อมาคือประชุมสนทนากลุ่มเพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา จุดอ่อน จุดแข็งของกลุ่มในด้านการผลิตและด้านการตลาด การเข้าถึงหน่วยงานที่มีบทบาทในการพัฒนาอาชีพของชุมชน ด้วยการทำบันทึกความเข้าใน (MOU) ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ พัฒนาชุมชน ผู้ประกอบการ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา อาชีวศึกษา กลุ่มสตรี