กลุ่มผู้นำผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ มีสมาชิกจำนวน 170 ชุมชน ประมาณการว่ามีผู้หญิงเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 1,700 คน ทั้งการดำเนินงานเรื่องการสำรวจเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัย การพัฒนากลุ่มประมงพื้นบ้าน การแก้ปัญหาที่ดิน จนขยายผลสู่การพัฒนาแกนนำ การพัฒนาจิตสาธารณะ ศาสนา วัฒนธรรมและเชื่อมโยงกับสี่เสาหลักของท้องถิ่น โดยกระบวนการนี้เกิดนำผู้หญิงเข้าร่วมจำนวนมากและมีพัฒนาการที่ต่อเนื่อง
จากกระบวนการทำงานและตัวอย่างดังกล่าวควรที่จะมีการหนุนเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้หญิงเป็นแกนหลักในการทำงานกับเครือข่ายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามมีข้อสรุปเกี่ยวกับบทบาทผู้หญิงว่ามีข้อจำกัด เช่น ยังขาดความกล้าในการเป็นผู้นำผู้หญิงทำการพัฒนาในชุมชนได้ดีแต่นำเสนอหรือบอกเล่ายังไม่เป็นระบบ ผู้หญิงยังเข้าไม่ถึงข้อมูล จึงมีความไม่มั่นใจ รวมถึงผู้หญิงยังขาดโอกาสการพูดในที่สาธารณะ เป็นต้น ในบริบทของชุมชนยุทธศาสตร์ที่จะเป็นประโยชน์และได้ผลในการส่งเสริมให้ผู้หญิงเป็นผู้นำและให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในประเด็นสาธารณะต่างๆ
เนื้อหาสาระการเรียนรู้ จากชุมชน สู่เครือข่าย สู่สังคมและสาธารณะ เน้นความเข้าใจระบบกลุ่ม ระบบชุมชน การมีส่วนร่วม การนำการตาม วิธีคิดและหลักจิตสาธารณะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ บทเรียนที่มีความหมายและมีคุณค่า การวิเคราะห์ชุมชน การทำแผนพัฒนาชุมชน ทักษะในการประสานงานและหาความร่วมมือในชุมชน งานมวลชน การขยายผล การรณรงค์