การศึกษาทัศนะของสตรีมุสลิม จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาท และ ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการแสดงบทบาทของสตรีมุสลิม ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ด้วยการสังเกตกลุ่มตัวอย่างสตรีมุสลิม จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระจายตามกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ประกอบด้วย สตรีกลุ่มแม่บ้าน ผู้ใช้แรงงาน นักศึกษา ข้าราชการ และนักการเมือง จังหวัดละ 18 คน รวม 54 คน การศึกษาพบว่า ปัจจุบันสตรีมุสลิม จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทใน ครอบครัวและสังคม เนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจ และได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น ผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง คือสตรีสามารถหารายได้และมีส่วนช่วยในเศรษฐกิจของครอบครัวที่ไม่ขัดกับหลักการอิสลาม การได้รับศึกษาที่สูงขึ้น ทำให้มีความรู้ความสามารถ ได้รับการยอมรับจากครอบครัวและสังคมมากขึ้น ในด้านระบบความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวที่กระจายตามบทบาทที่เปลี่ยนไป เวลาที่ให้กับครอบครัว มีน้อยลง อาจจะทำให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่ของสตรีมุสลิมตามหลักการอิสลาม แต่ก็มีความพึงพอใจ ในบทบาทที่เป็นอยู่ที่มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมอิสลามและจิตวิญญาณของความเป็นมุสลิม ส่วนปัญหาอุปสรรค เนื่องจากขาดความรู้ ค่านิยม และความเชื่อดั้งเดิมที่ไม่ถูกต้องทำไห ไม่ได้รับการสนับสนุนและโอกาสจากสังคมเท่าที่ควร ทั้งนี้ เห็นว่า ควรสนับสนุนให้ตรีมุสลิม จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการศึกษามากขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และสามารถแสดงความรู ความสามารถได้ภายในกรอบของอิสลาม (ฐิติ ระวีวงศ์, 2553)