การศึกษาเรื่อง “แนวทางการพัฒนาสวัสดิการโดยรัฐสำหรับสตรีหม้ายที่ได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความคิดเห็นการได้รับสวัสดิการที่จัดขึ้นโดยรัฐ ปัญหาการรับสวัสดิการและความต้องการ สวัสดิการที่จัดขึ้นโดยรัฐของสตรีหม้ายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสตรีหม้ายในจังหวัด ปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส จำนวน 310 ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรใช้วิธีการทดสอบหาค่า Chi-Square การเปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างตัวแปรใช้วิธีการทดสอบหาค่า F-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียวของตัวแปรโดยใช้วิธี One Way Analysis of Variance : One Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี จบการศึกษา ระดับประถมศึกษา นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างหน่วยงานราชการ มีรายได้ ต่ำกว่า 5,000 บาท มีบุตร 1-2 คน ได้รับสวัสดิการโดยรัฐมากที่สุดคือ ทุนการศึกษา เงินยังชีพ รายเดือนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน/นักเรียน/นักศึกษา บริการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาล ของรัฐ การฟื้นฟูจิตใจ ปัญหาการรับสวัสดิการโดยรัฐมีในระดับปานกลาง ได้แก่ การมีส่วนร่วม ความล่าช้า และความโปร่งใส ส่วนความต้องการสวัสดิการโดยรัฐมีในระดับปานกลาง โดยเฉพาะ ในเรื่องการติดตามและประเมิน การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และการพัฒนาบุคลากร ผลจาก ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพบว่า อายุ ศาสนาที่นับถือ และอาชีพมีความสัมพันธ์กับการ ได้รับสวัสดิการโดยรัฐ และการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรพบว่า ระดับการศึกษา และอาชีพที่มีความแตกต่างกัน มีปัญหาการรับสวัสดิการโดยรัฐต่างกัน ส่วนศาสนา อาชีพและ จำนวนบุตรที่มีความแตกต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการโดยรัฐต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ รัฐควรกำหนดนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของกลุ่ม สตรีหม้ายที่ได้รับผลกระทบฯ ในทุกรูปแบบและทุกระดับ และหน่วยงานควรพัฒนาระบบ การให้บริการสวัสดิการแก่สตรีหม้ายอย่างมีประสิทธิภาพ มีความหลากหลาย สอดคล้องกับความ ต้องการอย่างแท้จริง และพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลการช่วยเหลือเยียวยาสตรี หม้ายและครอบครัวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น