องค์ความรู้ด้านผู้หญิงภาคใต้

ชื่อเรื่อง
การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาลุ่มแม่น้ำโก-ลก ตอนที่ 3 : ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของสตรีกลุ่มแม่บ้าน
บทคัดย่อ
การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาลุ่มแม่น้ำโก-ลก เป็นการศึกษาชั้นสำรวจ (Ex-ploratory Study)  เพื่อรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของประชากรและชุมชนในบริเวณลุ่มแม่น้ำโก-ลก เพื่อช่วยในดครงการวางแผนพัฒนาลุ่มแม่น้ำโก-ลก ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มรายได้และปรับปรุงสวัสดิการทางสังคมของประชากรในพื้นที่ให้ดีขึ้น สำหรับตอนที่ 3 : ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มสตรีแม่บ้าน ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบ Comparison Group Ex Post Facto Study Design  ประเภท Cross-Sectional Design  โดยเปรียบเทียบระหว่าง 3 กลุ่มอาชีพ คือชาวนา ชาวสวนยาง และกลุ่มอาชีพผสม ใช้ตัวอย่าง กลุ่มสตรีแม่บ้านจำนวน 45 กลุ่ม
 
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏดังนี้  กิจกรรมการปลูกข้าว ที่สตรีแม่บ้านช่วยทำคือ การเพาะพันธ์ ปลูก ใส่ปุ๋ย เก็บเกี่ยวและนวดข้าว การปลูกยาง ที่ช่วยทำคือการกรีดยาง ปลูก ใส่ปุ๋ยและถอนวัชพืช กลุ่มสตรีแม่บ้านใช้เวลาประมาณ 25-50% ของเวลาทั้งหมดทำงานด้านการเกษตร และส่วนใหญ่ทำงานช่างฝีมือหรือศิลปหัตถกรรมทางด้านการตัดเย็บเสื้อผ้า การเย็บปักผ้าคลุมหัวสตรีและการทำผ้าปูที่นอนและปัจจุบันยังมีความต้องการที่อบรมทางด้านนี้เพิ่มเติม สตรีส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ผู้หญิงในหมู่บ้านที่แต่งงานครั้งแรกแล้วหย่าร้างเกือบทั้งหมดจะแต่งงานใหม่ ส่วนกลุ่มตัวอย่าง คาดหวังให้ลูกเรียนจบมหาวิทยาลัย แยกครอบครัวออกไปและรับราชการ จำนวนบุตรที่คิดว่าเหมาะสม คือ 3 คน  (บุษบง ชัยเจริญวัฒนา, 2531, p. 65)
ผู้เขียน
ดลมนรรจน์  บากา และคนอื่น ๆ
ปี
2527
ด้าน
ด้านการเสริมพลังหญิง
  • การรวมกลุ่ม
ประเภท
งานวิจัย
หน่วยงาน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์