องค์ความรู้ด้านผู้หญิงภาคใต้

ชื่อเรื่อง
การศึกษาพฤติกรรมการเลี้ยงลูกของสตรีที่ทำงาน ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมบริการในจังหวัดสงขลา
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรในสตรีที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมบริการ ค่าใช้จ่าย การมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูกของพ่อ การใช้เวลาในการดูแลลูกและผลกระทบของการทำงานต่อการเลี้ยงลูกโดยการสัมภาษณ์สตรีที่มีลูกอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมแช่แข็ง ห้างสรรพสินค้าและงานก่อสร้าง จำนวน 735 ราย และการเสาวนกลุ่มสตรีจำนวน 15 ราย จากสถานประกอบการ 24 แห่ง (โรงงานแช่แข็ง 6 แห่ง ห้างสรรพสินค้า/โรงแรม 9 แห่ง และบริษัทก่อสร้าง 9 แห่ง โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม 2546-พฤษภาคม 2546
          
ผลการศึกษาพบว่า  กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 28.5 ร้อยละ 55.4 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 66.5 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 59.3 มีสถานภาพเป็นคนงานในสถานประกอบการ รายได้ของครอบครัวกลุ่มตัวอย่าง 10,545 ร้อยละ 72.4 ต้องการมีบุตร 2 คน ร้อยละ 51.2 ต้องการบุตรเพศชาย ร้อยละ 81.6 เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระยะเวลาที่เลี้ยงนมแม่เฉลี่ย 3.2 เดือน ร้อยละ 37.5 ดูแลกันเองโดยกลุ่มตัวอย่างและคู่สมรส ร้อยละ 23.5 มีผู้ร่วมดูแล คือ ปู่ย่า ตายาย ร้อยละ 18.5 ดูแลโดยศูนย์พัฒนาเด็กในชุมชน มีคู่สมรสช่วยดูแลลูก มีเพียงร้อยละ 7.7 เท่านั้นที่ต้องดูแลเด็กเอง  นอกจากนนี้ยังพบว่า สตรีร้อยละ 90.3 คลอดปกติ เด็กส่วนใหญ่ได้รับภูมิคุ้มกันตามอายุ เวลาที่ให้กับลกวันที่ต้องทำงานเฉลี่ย 150 นาที ในวันหยุดมีเวลา 248.1 นาที ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับลูกเดือนละ 1347.3 บาท ความคิดเห็นต่อการเลี้ยงลูกคือ ลูกเป็นสิ่งที่มีค่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับ พ่อแม่ควรมีบทบาทร่วมกันในการเลี้ยงลูก การให้สัญญากับลูกยังเป็นสิ่งจำเป็น พ่อควรเป็นต้นแบบของลูกผู้ชาย พ่อแม่เลี้ยงลูกโดยไม่คาดหวังว่าจะได้รับสิ่งตอบแทนเพราะไม่ใช่เป็นการลงทุนทางเศรษฐกิจ การฝึกวินัยยังมีความจำเป็น การให้เวลากับลูกเป็นสิ่งสำคัญ กิจกรรมด้านศาสนาและวัฒนธรรมจารีตประเพณียังเป็นสิ่งต้องปฏิบัติ สิ่งที่กลุ่มตัวอย่างต้องการและเสนอแนะคือ การเปิดศูนย์ดูแลเด็กเล็กเพื่อเป็นสวัสดิการ รวมทั้งการจัดหาที่พักให้แก่คนที่มีครอบครัวแล้วในพื้นที่ใกล้โรงงานหรือห้างสรรพสินค้า พื้นที่ทำงาน (ก่อสร้าง) เพื่อสะดวกในการใช้เวลาส่วนหนึ่งกับครอบครัวมากขึ้น
ผู้เขียน
นวลตา อาภาคัพภะกุล (ร้อยตำรวจโท) และ พิชญา ตันติเศรณี (แพทย์หญิง)
ปี
2547
ด้าน
ด้านผู้หญิงกับชีวิตสมัยใหม่
  • ภาคอุตสาหกรรม
ประเภท
งานวิจัย
หน่วยงาน
สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์