Knowledge Management of Women in the South

Title
รูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [SMEs] ผ้าคลุมผมสตรีมุสลิม และหมวกกะปิเยาะห์ จังหวัดปัตตนี ยะลา และนราธิวาส บนฐานแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างรูปแบบ (Model) การจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดยดำเนินการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ค้าและผู้บริโภคต่างประเทศจำนวน 480 คน ประกอบด้วยประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐมาเลเซีย จีน ดูไบ บรูไน สิ่งคโปร์ ซาอุดิอารเบีย อียิปต์และอินโดนีเซีย และกลุ่มตัวอย่างของประเทศไท จำนวน 1,689 ประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ชำนาญการในการออแบบลวดลาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติพยายการใช้ Stepwise Regression Analysis
          
ผลการวิจัยพบว่า  ผู้ค้าต่างประเทศ ต้องการผลิตภัณฑ์ จังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาสไปจำหน่ายมากที่สุด ได้แก่ ผู้ค้าในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ต้องการผ้าคลุมผมรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สีดำ กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องการผ้าคลุมผมรูปสามเหลี่ยมสีดำ ขาว ครีม และผู้ค่าใน 2 กลุ่ม ประเทศข้างต้นต้องการหมวกกะปิเยาะห์ทรงชุดซูดานสีขาว ส่วนผู้ค้าประเทศจีนต้องการผ้าคลุมผมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปสามเหลี่ยม สีขาว ครีม แดง และเหลือง/ส้ม และหมวกกิปิเยาะห์ สำดำ ขาวและเขียว มากที่สุด และพฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความนิยมรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปจำหน่ายในประเทศดังกล่าว ส่วนทัศนคติของผู้บริโภคต่างประเทศต่อคุณค่าผ้าคลุมผมสตรีมุสลิมและหมวกกะปิเยาะห์ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย
                     
สภาวะการผลิตและการตลาด พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ผลิตรวมตัวกันผลิตในชุมชน ประกอบเป็นอาชีพรองและเป็นผู้รับจ้างผลิต เป็นตลาดในประเทศร้อยละ 80 ราคาขายผ้าคลุมสตรีมุสลิมที่ผลิตจาผ้าบาวาเนื้อ 1 และหมวกกะปิเยาะว์ ที่ป้กไหมสี และมีลายฉลุคุณภาพ A ขายได้ราคาสูงที่สุด วิธีการจัดจำหน่ยที่พมากที่สุด คือ ให้ผู้จ้างผลิตมารับไปจำหน่ายให้ ผู้บริโภคในประเทศนิยมให้ผ้าคลุมผมรูปสามเหลี่ยม สีเหลือง/ส้ม และหมวกกะปิเยาะห์ทรงซูดานสีขาวมากที่สุด
          
ผลการวิพากษ์ในการออกแบบลวดลายเพื่อเพิ่มมูลค่าลิตภัณฑ์ฯ พบว่า การผลิตผ้าคลุมผมสตรีเลือกลายดอกไม้ ได้แก่ ลายกุหลาบ ชบา ทิวลิป กล้วยไม้ และลายกระดังงา ส่วนหมวดกิปิยาะห์เลือกลายประเทศตุกี ไซบีเรีย นอร์เวย์ ซาอุดิอารเบียและฮังการี ตามลำดับ
          
ปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการความรู้ (KM) ด้านการผลิตผ้าคลุมผมสตรีมุสลิมและหมวกกะปิเยาะห์ พบว่าเรียนรู้จากประธานกลุ่ม ตัวอย่างจากผู้สั่งซื้อ เครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตในชุมชนและแบ่งปันความรู้กันที่สุเหร่า และญาติพี่น้องเป็นส่วนใหญ่
Author
เอื้อมพร เธียรหิรัญ
Year
2552
Subject Group
ด้านการเสริมพลังหญิง
  • การรวมกลุ่ม
Type
งานวิจัย
Organization
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ