องค์ความรู้ด้านผู้หญิงภาคใต้

ชื่อเรื่อง
ความต้องการการพยาบาลของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะกับการรักษาในโรงพยาบาล
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบบรรยาย (descriptive qualitative research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการพยาบาลของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะรับการรักษาในโรงพยาบาลโดยมีผู้เข้าร่วมการวิจัย จำนวน 20 ราย คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล สัมภาษณ์ 2-3 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 30-40 นาทีต่อครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
 
ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการการพยาบาลของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันหิตสูงขณะรับการรักษาในโรงพยาบาลมี 3 ประเด็นหลักคือ 1) ความต้องการการพยาบาลเมื่อรับรู้ภาวะเสี่ยง  2) ความต้องการการพยาบาลเพื่อก้าวข้ามภาวะวิกฤติ 3) ความต้องการการพยาบาลเพื่อควบคุมภาวะเสี่ยงที่บ้าน ประเด็นที่ 1 ความต้องการการพยาบาลเมื่อรับรู้ภาวะเสี่ยงม 3 ประเด็นย่อย คือ ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับโรค ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการตั้งครรภ์และการคลอดและการอำนวยความสะดวกให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแล ประเด็นที่ 2 ความต้องการการพยาบาลเพื่อก้าวข้ามภาวะวิกฤติมี 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ การดูแลด้านร่างกาย วิธีบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอด การพยาบาลที่นุ่มนวลสุภาพและการรับรู้ภาวะสุขภาพขณะรับการรักษาในโรงพยาบาล  และประเด็นสุดท้ายความต้องการการพยาบาลเพื่อควบคุมภาวะเสี่ยงที่บ้านมี 2 ประเด็นย่อย ได้แก่การสนับสนุนทางจิตใจ และคำแนะนำในการดูแลตนเอง ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะที่รับการรักษาในโรงพยาบาลมีความต้องการการดูแลแบบองค์รวมที่เน้นให้ญาติได้มีส่วนร่วมในการดูแล ดังนั้นพยาบาลผดุงครรภ์ควรให้การดูแลที่ตอบสนองความต้องการของหญิงตั้งครรภ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม ยิ่งไปกว่านั้นหญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับคำแนะนำที่ครอบคลุมเพื่อการดูแลตนเองทั้งขณะอยู่ในโรงพยาบาลและเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน (จิตณัฏฐา สุทธิจำนงค์, 2558)
ผู้เขียน
จิตณัฎฐา สุทธิจำนง
ปี
2558
ด้าน
ด้านสุขภาพแม่และเด็ก
  • สุขภาพระยะตั้งครรภ์
ประเภท
วิทยานิพนธ์
หน่วยงาน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์