Knowledge Management of Women in the South

Title
ฮิญาบกับการรักษาอัตลักษณ์ของชามุสลิมในภาคใต้ : กรณีศึกษาการคลุมฮิญาบในสถาบันการศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมุ่งศึกษาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากข้อมูล เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ถูกกีดกันมิให้คลุมฮิญาบในพื้นที่ จังหวัดสงขลาและจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 8 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบ ถึงวิธีคิดหรือการให้เหตุผลในการกีดกันการคลุมฮิญาบของบุคคลที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม
 
ผลจากจากการศึกษา พบว่า สถานภาพฮิญาบในสังคมไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาได้ ถูกวัฒนธรรมกระแสหลัก รวมถึงนโยบายจากส่วนกลางของภาครัฐเองได้มีความพยายามบูรณาการ เพื่อความเป็นหนึ่งของรัฐ โดยใช้กรอบแนวคิด “ความเป็นไทย” เข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแบบ ดั้งเดิมของวัฒนธรรมและสังคมอิสลาม  ซึ่งปัญหาการคลุมฮิญาบเป็นตัวอย่างหนึ่งอันเป็นการสะท้อน ถึงปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ดังนั้น การทำความเข้าใจวิธีคิด หรือเหตุผลในการกีดกันและการแสดง ความรังเกียจการคลุมฮิญาบจึงเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับเหตุผลหรืออคติที่นำมาใช้กีดกั้นและแสดงความรังเกียจในการคลุมฮิญาบ นั้นส่วนหนึ่งมาจากเรื่องความไม่เป็นสากลของวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายนักศึกษามุสลิม อีกทั้งทัศนคติส่วนตัวของผู้บริหารของหน่วยงานที่มีอคติ ไม่เปิดกว้าง และไม่ยอมรับในความแตกต่างของวัฒนธรรมการแต่งกาย บางครั้งผู้ปกครองของนักเรียนหรือนักศึกษาเองก็ มีทัศนคติที่ต่อต้านและเกิดความไม่มั่นใจ และไม่ยอมรับในนักศึกษาที่คลุมผ้าฮิญาบ
 
จากข้อค้นพบของการศึกษานี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และการยอมรับ และลดอคติในการคลุมฮิญาบของสตรีมุสลิม ผู้วิจัยขอเสนอแนวทางเป็น 2 ระดับ ดังนี้ 1) ระดับนโยบาย/มาตรการ/ ระเบียบหรือข้อบังคับ สร้างมาตรฐานหรือความเป็นสากลของการแต่งกายของสตรีมุสลิมที่ถูกต้องตามหลักศาสนา ข้อระเบียบหรือกฎเกณฑ์การแต่งกายควรจะเป็นในทิศทางเดียวกัน และทางสถาบันการศึกษานั้นๆ ควรจะมีระเบียบที่เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนถึงสิทธิในการแต่งกายของสตรีมุสลิมทั้งในและนอกสถาบัน เพื่อแก้ไขและป้องกันการเกิดปัญหาต่าง ๆ ที่ตามมาในอดีต 2) ระดับ บุคคล การสร้างทำความเข้าใจ การยอมรับ และการเคารพสิทธิส่วนบุคคลที่อยู่บนพื้นฐานของความแตกต่าง  เช่น การสร้างทัศนคติที่ดีด้วยการคลุมฮิญาบมิใช่ตัววัดความสามารถในการทำงาน และ สร้างชุดความคิดที่ว่า การคลุมฮิญาบเป็นเรื่องปกติ เป็นการแต่งกายของผู้สำรวมร่างกาย และสำรวมจิตใจ (ธิปัตย์ ภักดีเศรษฐกุล, 2558)
Author
ธิปัตย์ ภักดีเศรษฐกิล
Year
2558
Subject Group
ด้านอัตลักษณ์ ความเป็นหญิง และเพศสภาพ
  • เอกลักษณ์หญิง
Type
สารนิพนธ์
Organization
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์