ผลการศึกษา ด้านบทบาททางเพศ จากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายจำนวน 113 ราย สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในส่วนที่เป็นผู้หญิงมีช่วงอายุ 30-49 ปี ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สถานภาพสมรสส่วนใหญ่สมรสแล้ว อยู่ในภูมิลำเนาของตัวเอง อาชีพหลักคือทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย รับจ้าง ข้าราชการ ลูกจ้างของเอกชร/รัฐ แม่บ้าน/ดูแลบ้าน
ด้านทัศนคติของผู้นำต่อบทบาททางเพศของผู้หญิงพบว่า มีความคาดหวังตามมายาคติของสังคมที่มองผู้หญิง ว่า ผู้หญิงไม่ควรเกี่ยวข้องกับการเมือง การเมืองเป็นเรื่องของผู้ชาย เป็นเรื่องเสียเวลาสำหรับผู้หญิง การสะท้อนให้เห็นถึงระดับการยอมรับให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการลงรับสมัครการเลือกตั้ง ด้านทัศนคติต่อภาพพจน์ของผู้หญิง พบว่ามีค่อนข้างต่ำ ความละเอียดอ่อนของผู้หญิงไม่ได้หมายความว่าจะทำการเมืองได้ดี ด้านสิทธิความเท่าเทียมกับทัศนคติของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล เห็นว่าผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ มีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอต่อการทำงานด้านการเมือง จึงไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากผู้นำชายเท่าที่ควร ขณะที่ข้อมูลการสัมภาษณ์เจาะลึกกลับพบว่าผู้หญิงคิดว่าตนเองสามารถทำงานด้านการเมืองได้ โดยที่ไม่มีอุปสรรคจากความเป็นหญิง
ทัศนคติของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบลต่อการยอมรับบทบาททางการเมืองของผู้หญิง มีการยอมรับเพียงร้อยละ25.8 และมีเพียง 11.5 เท่านั้นที่พอใจในการทำหน้าที่ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลผู้หญิง