องค์ความรู้ด้านผู้หญิงภาคใต้

ชื่อเรื่อง
การจัดทำฐานข้อมูลและข้อเสนอยุทธศาสตร์เบื้องต้น ในการพัฒนากลุ่มผลิตผ้าคลุมผมสตรี และกลุ่มกปิเยาะห์ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
บทคัดย่อ
มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลจำนวนกลุ่ม จำนวนสมาชิกที่ผลิตผ้าคลุมผมและกปิเยาะห์เพื่อในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสำรวจข้อมูลปริมาณการผลิตและการส่งออกผ้าคลุมและกปิเยาะห์ และเพื่อจัดทำฐานข้อมูลและข้อเสนอยุทธศาสตร์เบื้องต้นเกี่ยวกับปลุ่มผลิตผ้าคลุมและกปิเยาะห์
 
ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษาวิจัยมี 2 แนวทาง คือ 1) การศึกษาเชิงสำรวจ เป็นการศึกษากลุ่มผู้ผลิตผ้าคุมผมสตรีและกลุ่มผู้ผลิตกปิเยาะห์ที่มีอยู่จริงในพื้นที่ทั้งในเชิงปริมาณกลุ่ม  จำนวนสมาชิกที่บ่งบอกถึงขนาดประชากรที่เกี่ยวข้อกับอาชีพดังกล่าว ปริมาณผลิตภัณฑ์ มูลค่าผลผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเพื่อการผลิตเพื่อการตลาด ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ก่อนจะนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลเป็นข้อมูลสำหรับการติดสินใจในเชิงนโยบาย และ 2) การศึกษาเชิงสหวิทยาการ เป็นการนำผู้มีความรู้ความชำนาญในหลายสาขาวิชา ตลอดจนนักธุรกิจและข้าราชการที่เกี่ยวช้องมาระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิตผ้าคลุมผมสตรีและกลุ่มกปิเยาะส์
 
จากฐานข้อมูลสามารถวิเคราะห์ SWOT Analysis ได้ดังนี้
จุดแข็ง เป็นอาชีพที่สอดคล้อกับศาสนาและวัฒนธรรมสามารถทำงานกับบ้านได้ ประกอบศาสนกิจได้ครบทุกเวลา ดูแลครอบครัวได้ ฝีมือประณีต มีความคิดสร้างสรรค์ ทำได้อย่างรวดเร็ว
จุดอ่อน ขาดทักษะการบริหารจัดการ ความรู้เรื่องการตลาด การแสวงหาเงินทุนอยู่ในมือของพ่อค้าคนกลาง เป็นผู้ลงทุน วัสดุ การขนส่ง ตลาดปลายทาง ผู้ผลิตอยู่ในฐานะผู้รับจ้าง พอใจกับการเป็นผู้รับจ้างโดยคิดว่าไม่ต้องมีภาระเรื่องการจัดการ ขาดการรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ตลาด ทำให้รูปแบบการผลิตไม่ทิศทาง ราคาจ่ายมักไม่คุ้มทุน ไม่การรวมกันเป็นเครือข่ายที่ชัดเจน ขาดระบบการดูแลสิทธิประโยชน์
 
โอกาส ปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมผมและกปิเยาะห์ ยังสามารถรองรับได้อีกมาก ทั้งตลาดภายในประเทศโตยเฉพาะภาคใต้ซึ่งยังไม่มีภาวการณ์แข่งขันที่สูงมากนัก ส่วนตลาดต่างประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีขนาดใหญ่มาก ประเทศในตะวันออกกลางเป็นแหล่งกระจายสินค้าไปยังประเทศมุสลิมทั่วโลก รวมไปถึงตลาดใหม่เช่นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามในแอฟริกา
อุปสรรค การสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีต่อผู้ผลิตยังไม่เป็นระบบ และไม่กระจายโอกาสไปยังกลุ่มที่ตกสำรวจ ทำให้บางกลุ่มทีวัสดุอุปกรณ์เกินกว่าจำนวนสมาชิกในขณะที่บางกลุ่มขาดแคลน การติดตามให้ความช่วยเหลือไม่เพียงพอ กลุ่มที่ได้รับการช่วยเหลือสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ในราคาถูก ซึ่งบางครั้งก็เป็นการทำลายกลไกตลาด
ผู้เขียน
จุรีรัตน์ บัวแก้ว และคณะ
ปี
2549
ด้าน
ด้านการเสริมพลังหญิง
  • การรวมกลุ่ม
ประเภท
งานวิจัย
หน่วยงาน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์