Knowledge Management of Women in the South

Title
สตรีไทยมุสลิมกับโรงงานอุตสาหกรรมในปัตตานี : ศึกษาผลกระทบต่อวิถีชีวิต
Abstract
เป็นการศึกษาผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้หญิงมุสลิมที่ออกไปทำงานนอกบ้านในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเพิ่มเกิดขึ้นในปัตตานีภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติหรือแผนการทำประเทศให้เป็น NICS พบว่าสตรีมุสลิมส่วนมากที่เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมมาจากครอบครัวที่มีพื้นฐานทางอาชีพเป็นชาวนา ชาวสวนและชาวประมง ระดับการศึกษาค่อนข้างต่ำ คือ ส่วนมากจบการศึกษาชั้น ป. 4- ป.6 อายุระหว่าง 15-25 ปี ชุมชนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของคนส่วนมากเป็นชุมชนที่ได้รับผลจาการที่สภาพแวดล้อมและทรัพยากรหลักเปลี่ยนไป เช่นชุมชนที่อยู่ริมทะเลปัญหาด้านสัตว์ทะเลลดปริมาณลดลงจนไม่เพียงพอต่อการยังชีพ ชุมชนชาวนาประสบปัญหาภัยแล้ว และชุมชนที่มีพื้นที่ทำการเกษตรน้อย สภาพเช่นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีการอพยพแรงงานจากหมู่บ้าน  คนงานสตรีมุสลิมมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่าง เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย เช่น การแต่งกาย การใช้ภาษาในการสื่อสาร การเลือกสื่อนันทนาการและการรับวัฒนธรรมจากสังคมเมือง เช่นค่านิยมในการทำงานนอกชุมชน ที่คนงานสตรีมุสลิมเห็นว่า ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนตลอดไป อย่างไรก็ตามสตรีมุสลิมเหล่านั้นคงรักษาขนบประเพณีดั้งเดิมที่ปฏิบัติกันมานานโดยการร่วมพิธีกรรมต่างๆ อาทิ วันฮารีรอยอ วันถือศีลอด พิธีแต่งงาน พีธีศพ เป็นต้น สรุปได้ว่า แม้ว่าสตรีมุสลิมจะมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่างแต่การเปลี่ยนแปลงนั้นก็ไม่มีผลกระทบหรือขัดแย้งร้ายแรงต่อบรรทัดฐานทางสังคมและวัฒนธรรมเช่นเดียวกันกับการศึกษาสตรีมุสลิมในท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราบ
Author
สว่าง เลิศฤทธิ์
Year
2535
Subject Group
ด้านผู้หญิงกับชีวิตสมัยใหม่
  • ภาคอุตสาหกรรม
Type
งานวิจัย
Organization
สถาบันศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์