องค์ความรู้ด้านผู้หญิงภาคใต้
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม (cewss) ได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคมในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งยังมีความขาดแคลนองค์ความรู้ที่ในด้านนี้อยู่ และยังไม่มีหน่วยงาน หรือสถาบันการศึกษาในภาคใต้ที่มุ่งมั่นเพื่อจัดการความรู้ความเข้า การศึกษาวิจัยทางด้านนี้อย่างจริงจังมาก่อน ดังนั้นจุดประสงค์หลักในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นความมั่นคงทางสังคม แห่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาเกี่ยวกับผู้หญิงในภาคใต้ และเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ด้านผู้หญิงของภาคใต้
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม (cewss) จึงได้ดำเนินโครงการทบทวนสถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้หญิงในภาคใต้ เพื่อรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผู้หญิงที่ได้มีการศึกษากันมาตั้งแต่อดีต นำไปสู่การนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้หญิง โดยการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ด้านเพศสภาพ บทบาทของผู้หญิง และความยุติธรรมทางสังคมหลากมิติผ่านศาสตร์ด้านวัฒนธรรมศึกษา ผ่านระบบคอมพิวเตอร์และเผยแพร่ผ่านระบบสารสนเทศออนไลน์ นำเสนอแนวทางการเชื่อมต่องานบริการวิชาการและการวิจัยด้านสิทธิสตรีและความยุติธรรมทางสังคมให้กับชุมชน

ด้านการเสริมพลังหญิง

การรวมกลุ่ม 15 เรื่อง
1. การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาลุ่มแม่น้ำโก-ลก ตอนที่ 3 : ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของสตรีกลุ่มแม่บ้าน
2. การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจสตรี: ศึกษากรณีการส่งเสริมการประกอบอาชีพสตรีในจังหวัดภาคเหนือและภาคใต้
3. ศึกษาปัจจัยการรวมกลุ่มและการดำเนินงานของกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านแพรกหา ตำบลแพรกหา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
4. ศึกษาการจัดกิจกรรมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านร่อนพัฒนา ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
5. การพัฒนากลุ่มสตรีปักจักรผ้าคลุมผม : กรณีศึกษาตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
6. การจัดทำฐานข้อมูลและข้อเสนอยุทธศาสตร์เบื้องต้น ในการพัฒนากลุ่มผลิตผ้าคลุมผมสตรี และกลุ่มกปิเยาะห์ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
7. ศึกษาการจัดการกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรนำตกทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
8. ศึกษาแนวทางการแสวงหาตลาดภายในประเทศ และเสริมสร้างความเข้มแข็ง โดยการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มอาชีพผลิตผ้าคลุมผมสตรีมุสลิมตันหยงลิมอ บ้านสระมาลา ตำบลคลองมานิง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
9. ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มสตรีสหกรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
10. ศึกษาการจัดการกิจการกลุ่มแม่บ้านนาเหนือ ตำบลนาเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
11. รูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [SMEs] ผ้าคลุมผมสตรีมุสลิม และหมวกกะปิเยาะห์ จังหวัดปัตตนี ยะลา และนราธิวาส บนฐานแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
12. รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสตรีอาชีพผ้ามัดย้อม ด้วยสีจากธรรมชาติ ชุมชนบ้านหัวทาง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
13. “คำนิยม” ลีลาปาเต๊ะ พลังผู้หญิง : พลังชุมชน
14. การจัดการความรู้ชุมชนเพื่อสืบสานอาชีพท้องถิ่น กรณีศึกษากลุ่มอาชีพสตรีทำผ้าปาเต๊ะ บ้านคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
15. ลีลาปาเต๊ะ พลังผู้หญิง : พลังชุมชน