KM of Women in the South
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม (cewss) ได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคมในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งยังมีความขาดแคลนองค์ความรู้ที่ในด้านนี้อยู่ และยังไม่มีหน่วยงาน หรือสถาบันการศึกษาในภาคใต้ที่มุ่งมั่นเพื่อจัดการความรู้ความเข้า การศึกษาวิจัยทางด้านนี้อย่างจริงจังมาก่อน ดังนั้นจุดประสงค์หลักในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นความมั่นคงทางสังคม แห่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาเกี่ยวกับผู้หญิงในภาคใต้ และเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ด้านผู้หญิงของภาคใต้
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม (cewss) จึงได้ดำเนินโครงการทบทวนสถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้หญิงในภาคใต้ เพื่อรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผู้หญิงที่ได้มีการศึกษากันมาตั้งแต่อดีต นำไปสู่การนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้หญิง โดยการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ด้านเพศสภาพ บทบาทของผู้หญิง และความยุติธรรมทางสังคมหลากมิติผ่านศาสตร์ด้านวัฒนธรรมศึกษา ผ่านระบบคอมพิวเตอร์และเผยแพร่ผ่านระบบสารสนเทศออนไลน์ นำเสนอแนวทางการเชื่อมต่องานบริการวิชาการและการวิจัยด้านสิทธิสตรีและความยุติธรรมทางสังคมให้กับชุมชน

Women's Health

Cancer 12 Topic
1. มะเร็งอวัยวะสืบพันธ์สตรีในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในช่วง กุมภาพันธ์ 2525- สิงหาคม 2526
2. การประยุกต์ใช้รูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับกระบวนการกลุ่มในการส่งเสริมพฤติกรรมการมาตรวจมะเร็งปากมดลูกในสตรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
3. การสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรีอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
4. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
5. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งในระยะแรกในสตรีที่มีสุขภาพดี
6. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของสตรีมะเร็งเต้านมภายหลังการผ่าตัด
7. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของสตรีไทยมุสลิม จังหวัดกระบี่
8. การรับรู้ข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และความพึงพอใจต่อการให้บริการของสถานีอนามัย ตำบลปะกาฮะรังของสตรีในตำบลปะกาฮารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
9. ปัจจัยความเชื่อด้านสุขภาพที่มีผล ต่อการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของสตรีที่สถานอนามัย อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
10. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีที่มารับบริการในคลินิกวัยทองของโรงพยาบาลในสามจังหวัดชายแดนใต้
11. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อทักษะและความยั่งยืนในการตรวจเต้านมด้วนตนเองของสตรีกลุ่มเสี่ยง
12. การรับรู้และพฤติกรรมการตรวจเต้านมเพื่อค้นหามะเร็งเต้านมของสตรีในเขตอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง