ทิศทางงานวิจัยและเป้าหมายของศูนย์วิจัย

ศูนย์วิจัยทางด้านสุขภาพหนึ่งเดียว ซึ่งจะเป็นศูนย์วิจัยแห่งแรกของประเทศไทยที่มุ่งเป้าเพื่อทำการศึกษาวิจัยและให้ความรู้ด้านสุขภาพหนึ่งเดียว และจะเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือระหว่างหลายสาขาวิชาชีพเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของโลก (สัตว์ คน และสิ่งแวดล้อม) โดยจะแบ่งขอบเขตุงานออกเป็น 3 แขนงคือ

ศูนย์วิจัยด้านสุขภาพหนึ่งเดียว

เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการวิจัย และบริการวิชาการ ในด้านสุขภาพหนึ่งเดียว ในพื้นที่ South East Asia  ที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ

Zoonotic disease

5/5

จะเน้นงานวิจัยทางด้าน โรคติดต่อระหว่างคนและสัตว์ การดื้อยาของเชื้อจุลินทรีย์ การใช้สมุนไพรและโปรไบโอติกเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของจุลชีพแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ และการปฏิสัมพันธุ์ระหว่างจุลชีพกับสิ่งแวดล้อม

Conservation and Environmental medicine

5/5

จะศึกษาความสัมพันธุ์ของสัตว์ สิ่งแวดล้อม และมนุษย์ ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณและคุณภาพของ สิ่งแวดล้อม คน และสัตว์ การวิจัยเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การวิจัยป้องกันไม่ให้เกิดมลภาวะ และการสูญพันธุ์ของสัตว์ การศึกษาผลกระทบของขยะและสารพิษต่อสุขภาพสัตว์และคน และสิ่งแวดล้อม การศึกษาผลกระทบของมลภาวะต่อสุขภาพคนและสัตว์

Emanuel Sadler

5/5

เป็นการทำวิจัยเพื่อผสมผสานความรู้ในการแพทย์ระหว่างคนกับสัตว์ เพื่อให้เข้าใจกลไกการก่อโรค หนทางป้องกันและรักษาโรค การใช้สัตว์เป็นโมเดลในการศึกษาโรคในคน การใช้และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อการป้องกันโรคและรักษาโรค

วิสัยทัศน์

“เป็นศูนย์วิจัยและบริการวิชาการในระดับมาตรฐานสากล และเป็นศูนย์กลางทางด้านสุขภาพหนึ่งเดียวใน South East Asia”

Research center in One Health

ทิศทางการวิจัยและเป้าหมายของศูนย์วิจัย

ศูนย์วิจัยด้านสุขภาพหนึ่งเดียว (Research center in One Health) เป็นการค้นคว้าศึกษาวิจัยในปฏิสัมพันธุ์ของสัตว์ คน และสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวคิดว่า การเกิดโรค หรือการเปลี่ยนแปลงของประชกรสัตว์ สามารถทำให้เกิดความเสียหาย หรือการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพคนและสภาพสิ่งแวดล้อมได้ ในทางกลับกันการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งแวดล้อมและคน เช่น มลภาวะ สถานการณ์โรคร้อน การเพิ่มของประชากรมนุษย์ การเกิดโรคในคน ก็สามารถส่งผลต่อการมีชีวิตและสุขภาพของสัตว์ได้ นอกจากนี้ สุขภาพหนึ่งเดียวยังครอบคลุมไปถึงการร่วมมือกันของหลายวิชาชีพ เช่น สัตวแพทย์ แพทย์ นักสิ่งแวดล้อม นักธรณีวิทยา วิศวกร เกษตรกร นักเคมี และสายวิชาชีพอื่นๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการควบคุม ป้องกันและกำจัดโรคและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ ต่อสุขภาพของโลก (สัตว์ คน สิ่งแวดล้อม) ยกตัวอย่างเช่น การเตรียมความพร้อมในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อระหว่างสัตว์กับคน โดยผ่านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อเพิ่มความปลอดภัยต่อสุขภาพของมวลมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยใช้สัตว์เป็นศูนย์กลางในการศึกษาวิจัย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การระบาดของโรคไข้หวัดนกและสุกรในอดีต ทีทำลายสุขภาพสัตว์ ทำความเสียหายต่อเศรษฐกิจ และยังสามารถแพร่กระจายโรคจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ไปเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของมนุษย์ได้ ในกรณีนี้ สัตว์ป่าในธรรมชาติจะไม่ป่วยแต่จะเป็น carrier ที่สำคัญในการแพร่เชื้อ นอกจากนี้เชื้อโรคยังอยู่ได้นานในสิ่งแวดล้อมทำให้ยากต่อการจัดการ ในครั้งนั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในหลายระดับทั้งในประเทศต่างประเทศ เอกชนและรัฐบาล และเป็นความร่วมมือกันในหลากหลายวิชาชีพโดยมีสัตวแพทย์เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยง

พันธกิจ

เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการวิจัย และบริการวิชาการ ในด้านสุขภาพหนึ่งเดียว ในพื้นที่ South East Asia  ที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ