Knowledge Management of Women in the South

Title
ความสัมพันธ์ระหว่างการสมรสกับการเจริญพันธุ์ของสตรีไทยมุสลิม ในจังหวัดภาคใต้
Abstract
ศึกษาจากตัวอย่างสตรีใน 2  หมู่บ้านในตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา จำนวน 500 คน พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างการสมรสกับการเจริญพันธ์ของสตรีไทยมุสลิมใน 2 หมู่บ้านดังกล่าวคือ ผู้หญิงมีแผนจะมีบุตร 3-4 คน อายุแรกสมรสต่ำกว่า 16 ปี มีโอกาสมีบุตรสูงกว่าผู้หญิงที่อายุสูงกว่า สมรสมักเป็นคนจากหมู่บ้านเดียวกัน นอกจากนี้พบว่าแบบแผนของการมีลูกผู้ที่มีการศึกษามีบุตรน้อยกว่าคนที่ไม่มีการศึกษา ทั้งนี้ประชากรส่วนใหญ่เรียนหนังสือจากโรงเรียนสอนศาสนา หรือ “ปอเนาะ”  และพบว่าระยะเวลาการเรียนไม่มีผลต่อแบบแผนการมีบุตร “ความเชื่อทางศาสนาไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อนโยบายการวางแผนครอบครัวแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะประชากรมีความคิดเห็นว่า การป้องกันมิให้มีบุตรมากไม่เป็นการผิดหลักศาสนาและผู้ที่มีความเชื่อดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะมีบุตรน้อย”  ปัจจัยด้านสังคม ประชากรส่วนใหญ่มีกระดับการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 กับผู้ที่ไม่ได้เรียนหนังสือเลย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มที่จะมีบุตรน้อยกว่า และการเรียนหนังสือจากโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามไม่ได้มีอิทธิพลต่อแบบแผนการมีบุตรแต่ประการใด ส่วนด้านอาชีพของสามี กลุ่มที่สามีประกอบอาชีพเกษตรมีแนวโน้มมีบุตรสูงกว่ากลุ่มลูกจ้างและกรรมการและค้าขาย แต่กลุ่มที่ว่างงานมีแนวโน้มการมีบุตรน้อยกว่าผู้มีรายได้ต่ำ  ด้านจิตวิทยาและอื่นๆ พบว่า ประชากรมีทัศนคติต่อการมีบุตรเพียง 3-4 คนเท่านั้น แต่ประชากรบางกลุ่มไม่สามารถจะควบคุมจำนวนบุตรให้เป็นไปตามความต้องการได้ ทั้งนี้อาจจะเป็นข้อสังเกตว่าโครงการวางแผนครอบครัวแห่งชาติน่าจะมีส่วนช่วยกำหนดจำนวนบุตรให้ตรงตามความต้องการได้แต่ประชากรโดยทั่วไปนั้นมักจะมีบุตรไม่เกิน 4 คน
 
เมื่อพิจารณาความคิดเห็นเกี่ยวกับการป้องกันการปฏิสนธิโดยไม่คำนึงความเชื่อทางศาสนา พบว่าประชากรเห็นด้วยเป็นส่วนมาก แต่แบบแผนการมีบุตรไม่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งนี้อาจจะไม่กล้าตัดสินใจยอมรับเกี่ยวกับวิธีการวางแผนครอบครัว เพราะวิธีการวางแผนครอบครัวนั้นเป็นสิ่งใหม่ๆ ในวัฒนธรรมซึ่งผู้ที่ไม่เข้าใจต้องใช้เวลาศึกษาพอสมควร ซึ่งเป็นข้อที่ควรให้ความสนใจอย่างยิ่งว่ารัฐบาลและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องให้ความรู้ในเรื่องการวางแผนครอบครัวแก่สตรีไทยมุสลิมในภาคใต้เพื่อให้ได้ความรู้และมีความเข้าใจในการปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวมากยิ่งขึ้น
Author
สุทธิพงศ์ พรหมไพจิตร
Year
2515
Subject Group
 
 
Population Education
  • Fertility
Type
Thesis
Organization
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย