Knowledge Management of Women in the South

Title
การศึกษาเหตุผลในการมีบุตรของสตรีชาวเลจังหวัดภูเก็ต
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเหตุผลในการมีบุตรของสตรีชาวเลในด้านการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมความเชื่อ ความอบอุ่นการพึ่งพิงในยามชราภาพ การขาดการวางแผนครอบครัว และปัจจัยทางด้านประชากร ในการวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กลุ่มประชากรสตรีชาวเล เกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต จำนวน 168 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
 
    1. สตรีชาวเลส่วนใหญ่มีอายุ 15-29 ปี อายุแรกสมรส 15- 17 ปี ระยะเวลาในการสมรส 1-15 ปี และ 6-10 ปี จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ 3 คนขึ้นไป มีอาชีพหาหอย ปู กุ้ง มีรายได้ 61-80 บาท/วัน และเรียนไม่จบชั้นประถมศึกษา
    2. สตรีชาวเลให้ความสำคัญต่อเหตุผลในการมีบุตรลดหลั่นกันดังนี้ ด้านความอบอุ่นใจและการพึ่งพิงยามชรา เหตุผลด้านการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจ เหตุผลด้านวัฒนธรรมความเชื่อ เหตุผลด้านปัจจัยประชากร และเหตุผลด้านการขาดการวางแผนครอบครัว
    3.สตรีชาวเลมีอายุ 15-17 ปี ให้ความสำคัญกับเหตุผลด้านการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจ ด้านความอบอุ่นใจและการพึ่งพิงในยามรามากที่สุด สตรีชาวเลที่มีจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ 3 คนขึ้นไป ให้ความสำคัญกับเหตุผลทางด้านวัฒนธรรมความเชื่อมากที่สุด สตรีชาวมาเลที่มีระยะเวลา 13 ปีขึ้นไป และไม่มีอาชีพให้ความสำคัญกับเหตุผลด้านการขาดการวางแผนครอบครัวมากที่สุด และระยะเวลาสมรส 1-12 ให้ความสำคัญกับเหตุผลด้านปัจจัยทางประชากรมากที่สุด
 
 ข้อเสนอแนะการวิจัย พบว่าผู้หญิงอายุ 15-49 ยังอยู่กันกับสามีไม่ปฏิเสธการวางแผนครอบครัว แต่สตรีชาวเลมีเหตุผลทางด้านอื่นที่สำคัญกว่า เช่น เหตุผลด้านความอบอุ่นใจ และการพึ่งพิงในยามชรา เหตุผลการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจ เหตุผลทางด้านวัฒนธรรมความเชื่อ และเหตุผลด้านปัจจัยทางประชากร ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญควรจะได้ให้การศึกษา อบรม แก่สตรีชาวเลได้เห็นความสำคัญและความจำเป็นของการวางแผนครอบครัวมากขึ้นกว่าเดิม (อมราพร เชาวนาพันธ์, 2536)
Author
อมราพร เชาวนาพันธ์ 
Year
2536
Subject Group
ด้านประชากรศึกษา
  • ภาวะเจริญพันธ์
Type
วิทยานิพนธ์
Organization
มหาวิทยาลัยมหิดล