Knowledge Management of Women in the South

Title
การสำรวจข้อมูลพื้นฐานโครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ของครอบครัวภาคใต้ (จังหวัดสตูล)
Abstract
กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาแบ่งเป็น  2  กลุ่ม คือ กลุ่มประชากรทั่วไป และกลุ่มผู้นำท้องถิ่น สำหรับกลุ่มประชากรทั่วไป แยกวิเคราะห์ข้อมูลตามระดับความเป็นเมือง คือ เทศบาล 97 หลังคาเรือน  สุขาภิบาล 80 หลังคาเรือน และชนบท 75 หลังคาเรือน ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะประชากร ปัญหาทางสาธารณสุข และการวางแผนครอบครัว สำหรับกลุ่มผู้นำท้องถิ่นสุ่มตัวอย่างมา 220 คน ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะประชากรและการวางแผนครอบครัว
 
ผลการศึกษา พบว่า ในกลุ่มประชาชนทั่วไป อัตราการเกิดในเขตเทศบาลและสุขาภิบาลเริ่มลดลงในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา แต่อัตราการเกิดในเขตชนบทเริ่มลดลงในระยะ 5 ที่ผ่านมาก ประชาชนที่อยู่ในเขตที่มีความเป็นเมืองมากกว่า จะมีการเลี้ยงดูบุคคลที่ต้องพึ่งผู้อื่นในทางเศรษฐกิจ และมีภาวะเจริญพันธ์ต่ำกว่าประชากรที่อยู่ในเขตที่มีความเป็นเมืองน้อยกว่า แต่มีการศึกษามีการรับนับศาสนาพุทธ มีรายได้เฉลี่ย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสาธารณสุขพื้นฐาน การยอมรับการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์สูงกว่า ส่วนใหญ่กลุ่มผู้นำท้องถิ่น พบว่าส่วนใหญ่ทำการสมรสครั้งแรกในช่วงอายุ 20-24 ปี มีภรรยาเพียงคนเดียว สำเร็จการศึกษาชั้น ป.4 นับถือศาสนาอิสลาม และดำรงตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 1,494 บาท มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการกันการตั้งครรภ์สมัยใหม่ ยอมรับนโยบายวางแผนครอบครัว แต่การปฏิบัติยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ คือมีเพียงร้อยละ 41 เท่านั้น แหล่งให้ข่าวเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวที่สำคัญของประชาชนและผู้นำท้องถิ่น คือ สถานที่ให้บริการรักษาพยาบาลของรัฐ  (บุษบง ชัยเจริญวัฒนา, 2531, หน้า 46)
Author
บรรเจิด อารีกูลชัย
Year
2524
Subject Group
ด้านประชากรศึกษา
  • ภาวะเจริญพันธ์
Type
งานวิจัย
Organization
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์