Knowledge Management of Women in the South

Title
การเปลี่ยนแปลงทางประชากร ครอบครัว และ สถานะทางเศรษฐกิจสังคมของชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้
Abstract
ข้อมูลเรื่องการเปลี่ยนแปลงประชากรและครอบครัว ระหว่างปี 2533 ถึง 2543 ชี้ว่าชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะมุสลิมที่ใช้ภาษามลายูอยู่ในสภาวะที่ด้อยกว่าในการเข้าถึงโอกาสและทรัพยากรในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิต เมื่อเปรียบเทียบกับชาวไทยมุสลิมที่พูดภาษาไทย และชาวไทยที่ไม่ใช่มุสลิม เช่น มีขนาดครัวเรือนใหญ่กว่า มี ประชากรพึ่งพิงวัยเด็กและมีภาวะเจริญพันธุ์สูงกว่า ส่วนใหญ่อยู่ในนอกเขตเมือง แต่งงานเร็วและแต่งงานมากกว่า 1 ครั้งมากกว่า มีภาวะการตายสูงกว่า และมีการเคลื่อนย้ายสูงกว่า อย่างไรก็ตาม มุสลิมก็มีสิ่งที่เป็นจุดแข็งที่ควร ส่งเสริม เช่น การเลี้ยงลูกด้วยตนเอง การให้นมลูกเป็นระยะเวลาที่นานกว่า เป็นต้น   ข้อมูลจากการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ระหว่าง พ.ศ. 2546- 2549 เปรียบเทียบสามจังหวัดกับประเทศ โดยไม่แยกศาสนา เนื่องจากไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับศาสนา พบว่า ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประชากรในสามจังหวัดและประชาชนทั้งประเทศได้ลดลงอย่างมาก แต่โดยทั่วไปสถานการณ์ ในสามจังหวัดยังด้อยกว่าระดับประเทศ เมื่อวัดจากรายได้ ค่าจ้าง รายได้ต่อหัว และสัดส่วนของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ไม่เคยได้รับการศึกษาสายสามัญเลย พบว่า จังหวัดยะลาอยู่ในสถานการณ์ที่ดีที่สุด รองลงมาคือ จังหวัดปัตตานี และนราธิวาส  นอกจากนี้ สัดส่วนการมีงานทำของประชากรในสามจังหวัดสูงขึ้นมากจนใกล้เคียงกับ ระดับประเทศทั้งชายและหญิง ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทย และผลิตภัณฑ์จังหวัดในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้  ในปี พ.ศ. 2548 พบว่ามีความแตกต่างกัน โดยที่ในระดับประเทศรายได้ที่มาจากหมวดอุตสาหกรรมสูง ที่สุด สำหรับจังหวัดปัตตานีนั้น รายได้หลักมาจาก หมวดการประมง  ส่วนจังหวัดยะลา และนราธิวาสมีความ คล้ายคลึงกัน คือรายได้หลักมาจากหมวดเกษตรกรรม  การทำงานเป็นลูกจ้างของรัฐบาลมีสัดส่วนน้อย ชี้ให้เห็นว่า ภาคเอกชนมีบทบาทในด้านการทำงาน และเศรษฐกิจของประชาชนสูงกว่าภาครัฐมาก ถึงแม้ว่าบทบาทของ ภาครัฐมีแนวแนวโน้มสูงขึ้น   รายงานมีข้อเสนอแนะสำหรับประเด็นการศึกษาต่อไป คือ ในด้านประชากร ควรมีการฉายภาพประชากร ในอนาคตของประชากรกลุ่มนี้ ให้เห็นโครงสร้างอายุของชาย-หญิง โดยแยกมุสลิมที่พูดไทยกับมุสลิมที่พูดมลายู และผู้ที่นับถือศาสนาพุทธในอีกสิบปี หรือ 20 ปีข้างหน้า และควรมีการฉายภาพมุสลิมนอกสามจังหวัดภาคใต้ด้วย นอกจากนี้ ควรมีการวิจัย เกี่ยวกับการย้ายถิ่นของมุสลิม ส่วนในด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ควรมีงานวิจัยที่เกี่ยวกับทำงาน ประเด็นภาษาพูด  การวิจัยควรแยกแยะความแตกต่างระหว่างการใช้ภาษาไทย กับความสามารถในการใช้ ภาษาไทย และควรมีการศึกษาที่เป็นระบบในเรื่องการให้ความสำคัญกับภาษาไทย และภาษามลายูของชาวมุสลิม ว่าแท้จริงแล้วมุสลิมคิดอย่างไรกับเรื่องนี้
Author
อารี จำปากลาย และ รศรินทร์ เกรย์
Year
2550
Subject Group
ด้านประชากรศึกษา
  • ภาวะเจริญพันธ์
Type
งานวิจัย
Organization
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)