Knowledge Management of Women in the South

Title
ครอบครัวไทยมุสลิมจังหวัดปัตตานี ในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางประชากร
Abstract
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ทางประชากรในจังหวัดปัตตานี ภายใต้สถานการณ์เปลี่ยนผ่านทางประชากรในประเทศไทย และสืบค้นความเชื่อในเรื่องการแต่งงานเพื่อสร้างครอบครัวและการมีบุตรของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี
 
ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างทางประชากรในจังหวัด ปัตตานีได้เปลี่ยนผ่านเป็นโครงสร้างประชากรสูงวัยแล้ว เช่นเดียว กับโครงสร้างประชากรในระดับประเทศ แต่ก็ยังมีอัตราเจริญพันธ์ สูงกว่าระดับทดแทน ทั้งนี้เป็นเพราะความเชื่อตามหลักการใน ศาสนาอิสลามคือ การส่งเสริมให้มุสลิมแต่งงาน มีครอบครัวและสนับสนุนการมีบุตร แม้ว่าจะพบว่าชาวไทยมุสลิมบางส่วนได้รับ การศึกษาสูง มีการยืดอายุการสมรส ชะลอการแต่งงาน แต่ก็ยังเห็นด้วยกับการแต่งงานและมีบุตรตามหลักการในศาสนาโดยมี ครอบครัวเดี่ยวในสัดส่วนสูงกว่าครอบครัวขยายเล็กน้อย การอยู่อาศัยและการตั้งบ้านเรือนยังเน้นความสัมพันธ์ในเครือญาติและการอยู่ใกล้เคียงเครือญาติ อย่างไรก็ตามการแต่งงานและสร้างครอบครัวไม่พบความแตกต่างระหว่างเขตเมืองกับชนบท ในขณะที่ความเชื่อในการมีบุตรมีความแตกต่างระหว่างชนบทกับเมืองกล่าวคือชาวไทยมุสลิมในชนบทไม่ได้มีการวางแผนระยะห่าง ระหว่างบุตรแต่ละคน รวมถึงกำลังทรัพย์ในการดูแลบุตร ในขณะที่ชาวไทยมุสลิมที่อาศัยอยู่ในเมืองคำนึงถึงระยะห่างระหว่างบุตร แต่ละคน การให้เวลาดูแล การให้การศึกษา และความพร้อม กำลังทรัพย์ต่อการมีบุตร  แต่ก็ไม่ได้กำหนดจำนวนบุตรที่แน่นอน เช่นเดียวกับชาวไทยมุสลิมในชนบท (อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต, 2559)
Author
อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต
Year
2559
Subject Group
ด้านประชากรศึกษา
  • ภาวะเจริญพันธ์
Type
วารสาร
Organization