Knowledge Management of Women in the South

Title
ความแตกต่างของภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีไทยพุทธและมุสลิมในภาคใต้ของประเทศไทย
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีไทยพุทธและไทยมุสลิมและเพื่อศึกษาอิทธิพลของศาสนาที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ของสตรีไทยพุทธและไทยมุสลิมในภาคใต้ของประเทศไทย ใช้ข้อมูลจากโครงการการสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ. 2552 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
 
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือสตรีวัยเจริญพันธุ์ในภาคใต้ อายุ 15-49 ปี นับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม สถานภาพสมรสและเคยสมรส จำนวน 4,070 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงชั้น พบว่าสตรีที่เป็นตัวอย่าง มีอายุแรกสมรสเฉลี่ย 21.8 ปี โดยสตรีไทยมุสลิมมีอายุแรกสมรสน้อยกว่าสตรีไทยพุทธ อายุแรกสมรส น้อยที่สุดในการศึกษาครั้งนี้คือ 12 ปี มีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ย 2.04 คน โดยสตรีไทยมุสลิมมีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยมากกว่าสตรีไทยพุทธและผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงชั้นพบว่า อายุสตรี อายุแรกสมรส และศาสนาส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสตรีอายุมาก ขึ้นมีจำนวนบุตรเกิดรอดมากขึ้น สตรีไทยมุสลิมมีจำนวนบุตรเกิดรอดมากกว่าสตรีไทยพุทธ และสตรีที่ มีอายุแรกสมรสน้อยจะมีจำนวนบุตรเกิดรอดมากกว่าสตรีอายุแรกสมรสมาก และทั้ง 3 ตัวแปรร่วมกัน อธิบายการผันแปรของจำนวนบุตรเกิดรอดได้ร้อยละ 53.5 (R2 = .535) ตัวแปรที่อธิบายจำนวนบุตรเกิด รอดได้ดีที่สุดคือ อายุสตรี อายุแรกสมรส และศาสนา
 
ผลการศึกษาเสนอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐควรตระหนักและมีมาตรการให้นโยบายส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์ลงไปสู่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งการศึกษาครั้งนี้พบว่าทั้งสตรีไทยพุทธ และสตรีไทยมุสลิมมีอายุแรกสมรส ค่อนข้างต่ำคือ 13 ปี และ 12 ปี ตามลำดับ (พึงพิศ ชัยภักดี, 2558)
Author
พึงพิศ ชัยภักดี
Year
2558
Subject Group
ด้านประชากรศึกษา
  • ภาวะเจริญพันธ์
Type
วิทยานิพนธ์
Organization
มหาวิทยาลัยมหิดล