Knowledge Management of Women in the South

Title
ผลกระทบจากนโยบายเพิ่มประชากรมาเลเซียต่อโครงการวางแผนครอบครัวใน 3 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย
Abstract
โครงการวางแผนครอบครัวในปัจจุบันได้รับความสำคัญมาก แต่สำหรับภาคใต้ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร มีระดับคุมกำเนิดต่ำกว่าระดับเฉลี่ยของการใช้วิธีการคุมกำเนิดของทั้งประเทศ ระดับการใช้วิธีคุมกำเนิดของสตรีไทยมุสลิมในภาคใต้มีเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของสตรีไทยพุทธในภาคเดียวกัน ในระหว่างกลุ่มสตรีไทยมุสลิม ก็มีความแตกต่างกันในระดับการใช้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาษาที่พูดและภาคที่อาศัย  พบว่าสตรีไทยมุสลิมในภาคใต้พูดภาษายาวี มีระดับการศึกษาที่ต่ำมาก สตรีไทยมุสลิมที่พูดภาษาถิ่นมีระดับการใช้การวางแผนครอบครัวระดับปานกลาง และพบว่าสตรีไทยมุสลิมส่วนใหญ่เห็นว่าวิธีการคุมกำเนิดขัดต่อหลักการศาสนา และวิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวจะขัดต่อหลักศาสนาอิสลามน้อยกว่าแบบถาวร แสดงให้เห็นว่า ภาษาพูด ถิ่นที่อยู่อาศัย และศาสนา เป็นตัวแปรอิสระที่มีผลกระทบต่อระดับการใช้วิธีคุมกำเนิด นอกจากนี้ การใช้วิธีการคุมกำเนิดขึ้นอยู่กับจำนวนบุตรที่คู่สมรสมีได้ จำนวนบุตรในอุดมคติและค่าใช้จ่ายในการคุมกำเนิด ซึ่งทั้ง 3 ตัวแปร นี้จะเปลี่ยนไปตามระดับการใช้วิธีการคุมกำเนิด
 
เนื่องจากปัจจัยทางศาสนาและวัฒนธรรมเป็นผลให้ระดับการเจริญพันธ์ในปัจจุบันของภาคใต้สูงกว่าภาคอื่นๆ เมื่อรัฐบาลมาเลเซียมีนโยบายเพิ่มประชากร โดยจูงใจให้ประชาชนมีบุตรได้ตามปรารถนาจึงตั้งสมมติฐานได้ว่า อาจจะส่งผลให้ประชาชนทั้งในมาเลเซียและใน 3 จังหวัดภาคใต้ ใช้การวางแผนครอบครัวน้อยลง  (บุษบง ชัยเจริญวัฒนา, 2531, p. 43)
Author
เกื้อ บุญวงศ์สิน
Year
2529
Subject Group
ด้านประชากรศึกษา
  • ภาวะเจริญพันธ์
Type
วารสาร
Organization